การรู้ปล่อยวางในอารมณ์ เป็นวิถีทางแห่งความสงบสุขของพระพุทธเจ้า
การฝึกจิตให้รู้ปล่อยวางความวุ่นวาย ปัจจุบันนี้เราอยู่ในโลกแห่งความวุ่นวายสับสน ที่มีแต่สิ่งยั่วยุอยู่มากมายที่มากับวัตถุแห่งกามคือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ชวนให้รัก, ชักให้ใคร่, พาใจให้ไหลหลง, ทำให้เกิดอารมณ์ คือความรู้สึกยินดียินร้าย, ความพอใจหรือความไม่พอใจ, ความชอบใจหรือความไม่ชอบใจ, ที่เกิดเป็นกิเลสกามตัณหาคือความอยาก เป็นบาปอกุศล เป็นอัตตาและอคติ ฝังอยู่ในใจจนเป็นเหตุให้เกิด ความโลภ ความโกรธ ความหลง มองคนในแง่ร้ายบ้าง อิจฉาริษยาบ้าง ที่ทำให้ใจของเราขุ่นมัวเศร้าหมองฟุ้งซ่านอยู่เสมอ หาความสงบสุขไม่ได้ มีแต่ความทุกข์ใจเพราะสิ่งยั่วยุ การเสพคุ้นอยู่กับสิ่งยั่วยุ มีแต่จะทำให้ใจของเราเกิดความเศร้าหมองพาใจให้เกิดทุกข์ เพราะกิเลสคือความอยากต่างๆที่มากับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสต่างๆ
การฝึกจิตให้รู้ปล่อยวางจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อชีวิตเป็นอย่างยิ่ง ที่จะทำให้ใจของเราไม่เกิดความเศร้าหมองเพราะบาปอกุศล การท่องธัมมะภาวนาไว้ในใจอยู่เสมอๆจะช่วยให้จิตรู้ปล่อยวาง ยิ่งมีเพียรได้ตลอดเวลาได้ยิ่งดี จะทำให้มีสติรู้สกัดกั้นไม่ให้เกิดบาปอกุศลในใจของเราโดยอัตโนมัติ เป็นการรู้ปล่อยวางใจไม่ให้เกิดอารมณ์คือความรู้สึกยินดียินร้าย,ความพอใจหรือความไม่พอใจ, ที่เป็นกิเลสเป็นบาปอกุศล เมื่อใจรู้ละเหตุนั้นได้ใจก็เป็นกุศลคือความผ่องใส เป็นบุญคือความสบายใจ ที่มีผลเป็นความสงบสุข มีสุขชาตินี้และสุขชาติหน้า นี่แหละวิถีทางความสงบสุขของพระพุทธเจ้า ที่ได้ให้ไว้แก่เราชาวพุทธด้วยการมีธัมมะภาวนาว่า ”อย่ายินดียินร้าย...อย่าว่าร้ายใคร...อย่าคิดร้ายใคร...” นี้คือหัวข้อธรรมะไว้ท่องธัมมะภาวนา จัดเป็นการดำริชอบคือการคิดเห็นอยู่ในใจตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ ดังนี้.
โดยหลวงพ่ออุดม มหาปุญโญ วัดป่าหนองเลง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
หลวงพ่อเงินวัดบางคลานพิจิตร
ด้านหน้า ด้านหลัง พระผงรูปเหมือนข้างพัดหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พิจิตร เนื้อเก่ายุคต้นๆ ราคาเบาๆ ครับ ๙๙๙.๙๙๙ บาท โทร 08722...

-
หลวงปู่คำแสน เหรียญกระดุมเล็ก รุ่น2 ปี 2520 เหรียญ หลวงปู่คำแสนฯ รุ่นนี้คณะศิษย์อำเภอตาคลี จ.นครสวรรค์ สร้างถวายในวาระที่หลวงป...
-
เหรียญพระอาจารย์ ฝั้น อาจาโร ของแท้แน่นอนครับ เหรียญพระอาจาร ฝั้น อาจาโร เหรียญกลมเกือบเท่าเหรียญบาท ต้องการให้เ...
-
เหตุที่ตระกูลอันมั่งคั่งจะตั้งอยู่นานไม่ได้เพราะสถาน ๔ ๑.ไม่แสวงหาพัสดุที่หายแล้ว, ๒. ไม่บูรณะพัสดุที่คร่ำคร่า, ๓. ไม่รู้จักประมาณในการบ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น