วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เสมือนหนึ่งมารดาทางธรรม

พระราชพรหมยานมหาเถระ (หลวงพ่อฤาษีวัดท่าซุง)

รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน จากหนังสือ ธรรมที่นำสู่ความพ้นทุกข์ (เล่มที่ 4)

สมเด็จงค์องค์ปัจจุบัน ทรงเมตตาสอนไว้ เมื่อ 29 ส.ค. 2535 ที่วัดท่าซุง จ. อุทัยธานี เพื่อสะดวกในการจดจำและความเข้าใจของผู้อ่าน จึงขอแยกออกเป็นข้อ ๆ มีความสำคัญดังนี้

1. ในทางโลก บิดา-มารดา ท่านเสพกามกัน ดวงจิตของเราก็มาจุติได้ มารดาอุ้มท้องเลี้ยงดูเรามาตราบกระทั่งชีวิตของท่านหาไม่ พระคุณแห่งบุพการีทั้งสอง ขอจงจดจำไว้ อย่าตำหนิ หรือ ลบหลู่ เป็นอันขาด

2. ในทางธรรม กายเกิดธรรมก็เกิด เกิดด้วยธาตุ 4 เข้ามาประกอบกันโดยมีแม่พระโพสพ (ข้าว) เป็นอาหารหลักที่เลี้ยงกาย แม่พระทั้ง 5 จึงเสมือนหนึ่งมารดาทางธรรมที่เลี้ยงกาย แม่พระทั้ง 5 จึงเสมือนหนึ่งมารดาทางธรรมที่อยู่กับเราตั้งแต่วันเกิดจนวันตาย

3. บุตร บิดา มารดา ฆ่ากันในทางโลก หากมีอีกฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดตั้งจิตสร้างอภัยทานให้เกิด กล่าวขออโหสิกรรม และเป็นฝ่ายยอมรับผลของกรรมที่ตนได้ก่อไว้ในอดีตชาติอย่างสงบ กรรมนั้น ๆ ก็จะลุล่วงเลิกแล้วต่อกันไปได้ เช่น อย่าง ตถาคตตรัสอโหสิกรรมให้พระเทวทัต หรือ พระอาหันต์สาวกทั้งหลายทุกๆ องค์ ที่เคารพในกฏแห่งกรรมสำแดงปฏิปทาให้ปรากฏ ตั้งแต่พุทธันดร ผลแห่งการให้อภัยย่อมมีอยู่ให้เห็นเป็นตัวอย่างสืบเนื่องตลอดไป

4. ต่างกับคนผู้ที่ฆ่าตัวตาย ทำร้ายแม่พระทั้ง 5 โทษของกรรมนั้นยากนักที่จะพ้นได้ จะอย่างไรก็ต้องฆ่าตัวตายไปอีกตั้ง 500 ชาติ เพราะเนรคุณไม่รู้คุณแห่งแม่พระธรรมทั้งปวง

5. เรามาจุติ (เกิด) เราก็ต้องอาศัยเขาสร้างพระบารมี จะไปนรก สวรรค์ นิพพานได้ ก็ด้วยชาติที่เป็นมนุษย์ส่งผลนี้แหละ เพราะฉะนั้นอย่าเนรคุณ เวลาป่วยไข้ก็จงหมั่นดูกฏของกรรมเป็นต้นเหตุ

6. ตัวเวทนาของกาย คือ วิญญาณธาตุ (ระบบประสาทรับสัมผัสของกาย) จงรู้เท่าทันมันให้ดีๆ เพราะตัวนี้เป็นตัวผสมทำสุข ทุกข์ให้เกิด ถ้าแยกจิตไม่เป็น เวทนาของกายก็จะทำให้เวทนาของจิตเกิดขึ้นด้วย ขอให้ศึกษาธรรมนี้ให้ดีๆ จะได้แยกจิต แยกกาย แยก เวทนาออกจากกันได้

7. การทำร้ายตัวเองหรือผู้อื่นทางกาย ด้วยโทสะก็ดี ด้วย โลภะก็ดี ด้วยความหลงก็ดี เช่น คนฆ่าตัวเองตาย เท่ากับทำร้ายดิน น้ำ ลม ไฟ ผู้มีพระคุณ ในเมื่อตัวเองยังไม่รู้จักคุณค่าของตัวเอง จึงปล่อยจิตเศร้าหมองทำร้ายตนเองได้

8. คนไม่รู้จักพระคุณของแม่พระทั้ง 5 จึงมี โทษหนัก เกิดภพใด ชาติใด ก็ต้องฆ่าตัวไปถึง 500 ชาติ ด้วยเหตุผลดังกล่าว บุคคลประเภทนี้หาความเจริญได้ยาก เพราะมักจะชอบทำร้ายบุคคลอื่นอยู่เนื่องๆ ด้วยเหตุมิละเว้นแม้นการทำร้ายตนเองได้ (ทรงหมายความว่า สิ่งที่เขารักที่สุดในโลกนี้ก็คือร่างกายที่เขาอาศัยอยู่ เขาก็ยังทำร้ายฆ่ามันให้ตายได้ ดังนั้นเขาผู้จึงสามารถทำร้ายและฆ่าผู้อื่นได้ทุกคนในโลกนี้) เจ้าจงหมั่นระวังจิต อย่าให้คิดทำร้ายตนเองและทำร้ายผู้อื่น เห็นโทษเห็นทุกข์ตามนี้ด้วยเถิด
วิจารณ์ (ธัมวิจัย) เนื่องจากพระธรรมจุดนี้ละเอียดอ่อนมากพระองค์จึงสอนแต่เฉพาะพวกพุทธจริตเท่านั้น ผมจึงขออนุญาตอธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่พวกจริตอื่นๆ

1.บุคคลส่วนใหญ่ ยังไม่รู้บุญคุณของพระแม่ทั้ง 5 และยังไม่ทราบว่าร่างกายนี้ประกอบด้วยธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ลมไฟ และพระแม่โพสพ หรือ ข้าว ก็คือ ธาตุ 4 หรือ ประกอบด้วยธาตุ 4 ครบ ในเมื่อคนในโลกนี้ต่างเติบโตและมีชีวิตอยู่ได้ด้วยข้าว อันเป็นอาหารหลัก และต้องบริโภคอยู่ทุกวัน แต่จิตยังหยาบเกินไป จึงไม่รู้จักบุญคุณของพระแม่ทั้ง 5 ยิ่งมองเห็นแม่พระทั้ง 5 เป็นพระธรรมเพื่อนำไปสู่ความพ้นทุกข์ด้วยแล้ว ก็ยิ่งห่างไกลสุดประมาณ

2.ผมจึงเน้นเอา แต่พวกที่มีศรัทธาอย่างแท้จริงในพระพุทธศาสนา และตั้งใจที่จะปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้นทุกข์จากเกิด แก่ เจ็บ ตาย อย่างภาวร ในชาติปัจจุบันนี้เป็นหลักสำคัญ ท่านแหล่านี้สะสมบารมีมามาก เข้าใจและยอมรับเรื่องบุญ บาป เรื่อง สวรรค์ นิพพาน และกฏของกรรม อันเป็นอริยสัจขั้ขสูง โดยจิตหมดความสงสัย (วิจิกิจฉา) ในธรรมเหล่านี้แล้ว
3.คำสอนของพระองค์เกี่ยวกับพระแม่ทั้ง 5 ทั้งคุณและโทษที่ทรงตรัสสอนไว้ พอสรุปมีความสำคัญดังนี้

3.1 พระแม่ธรณี (แผ่นดิน, ธาตุดิน) พวกทำลายชาติไม่รู้คุณค่าของมาตุภูมิที่เลี้ยงดู ได้อาศัยอยู่มาจนถึงปัจจุบันว่าท่านมีพระคุณอย่างใหญ่หลวง จงอย่าเหยียบย่ำและลบหลู่พระคุณของท่าน กรรมของพวกขายชาติจึงต้องลงนรกโลกันตะมหานรก (นรกขุมที่ 9 )

3.2พระแม่โพสพ (ข้าว) พระองค์เน้นให้เห็นพวกที่มีโทสะจริตสูง เวลาบริโภคอาหารมิได้สำรวม ตถาคตรวมไปถึงพวกสมมุติสงฆ์ด้วย จะกินอาหารอย่างกระหายก็ดีขยุ้มข้าวสุกลงมาจากยอดก็ดี หรือ ปุถุชนเมียปรุงอาหารไม่ถูกปาก สาดข้าวสุดเททิ้งก็ดี พอกายแตกดับก็มาเสวยกรรมแห่งโทสะนั้น ในนรกอีกรุปแบบหนึ่ง ทรงเมตตาให้เห็นภาพสัตว์นรก หิวกระหายจะกินข้าว ข้าวก็กลายเป็นเมล็ดทรายร้อนแรงด้วยเปลวไฟบาด ปากบาคคอให้พังเป็นแถบๆ แล้วล้มตัวลงนอนดิ้นจนตัวละลายไป เพราะพอทรายร้อนไปถึงส่วนไหนส่วนนั้นก็พัง ดัวนั้นเมื่อพระแม่โพสพมีพระคุณแก่เรามากนักเจ้าจงอย่าลบหลู่หรือเหยียบย่ำพระคุณท่าน

3.3 แม่พระคงคา (พระแม่คงคาหรือ แม่น้ำ) สมมุติสงฆ์บ้วนน้ำลาย ถ่ายของเสียออกจากทวารหนัก- เบา คนธรรมดาก็เช่นกัน ทิ้งขยะลงไปบ้าง ถ่ายของเสียลงไปบ้าง บางรายอยากได้ปลาก็ใช้ยาเบื่อปลาละลายลงไปบ้าง บุคคลเหล่านี้เมื่อตายไปเสวยกรรมในนรก มีทีท่าหิวกระหายน้ำจัด เห็นแม่น่ำอยู่ใกล้ๆ ก็วิ่งกระโจนลงไป วักน้ำขึ้นมาดื่ม น้ำก็กลายเป็นทรายร้อนจัด ถูกปาก-คอ-ท้องก้พัง ละลายไปเป็นแถบๆ เพราะผลกรรมที่เหยียบย่ำแม่น้ำคงคา

3.4 แม่พระพาย สัตว์นรกบางเหล่า ไม่รู้บุญคุณของลมหรือ อาวกาศ ทำกรรมบ่น-ด่า-ว่า พายุที่พัดเสียหายทั้งข้าวของ-ทรัพย์สิน-ชีวิต บ้างบ่นว่าร้อนหาลมพัดไม่ได้ทั้งๆ ที่ตนเองก็ยังอากาศหายใจอยู่ โมหะเข้าครอบงำจิต คิดแต่จะเอาความเย็นมาบำเรอร่างกาย จึงสร้างโทสะให้เกิด กล่าวโทษแม่พระพายว่าไม่เอาความเย็นมาให้ ทั้งๆ ที่ตนเองก็มีพระพายหรือลมบริโภคอยู่ทางจมูก ทั้งลมภายนอกและภายในอย่างสมบูรณ์ พอลมหยุดพัดเพียงชั่วขณะ จิตก็วุ่นวาย เพราะความโง่ทำจิตใจเศร้าหมอง พวกเหล่านี้เมื่อตายไป ต้องไปเสวยกรรมในห้องเปลวไฟที่ร้อนแรง อันหาอากาศหายใจมิได้ พอมิได้ พอบ่นมากๆ ว่าต้องการลม ศาสตราวุธมากมายก็ตกลงมาทิ่มแทงการแทนลมที่ต้องการ นี่คือผมจากการลบหลู่พระคุณของท่านแม่พระพาย โดยเฉพาะการเจริยอานาปานุสสติ จึกพึ่งท่านโดยตลอด อย่าเหยียบย่ำหรือลบหลู่เป็นอันขาด ตถาคตก็ยังต้องพึ่งท่านในขณะที่ยังทรงขันธ์ 5 อยู่

3.5 แม่พระเพลิง ไฟของท่านร้อน หากรู้จักนำมาใช้ก็มีประโยชน์มหาศาล พลังงานต่างๆ ในโลกล้วนต้องอาศัยความร้อนทั้งสิ้น แม้ขันธโลกก็เช่นกัน ถ้าไม่มีไฟ (Energy) กายก็เคลื่อนไหนไม่ได้ แม้สิ่งอุปโภครวมทั้งอาหารเครื่องใช้ทั้งมวลล้วนอาศัยไฟทั้งสิ้น สรุปแล้วจงอย่าลืมพระคุณของไฟ อย่าลบหลู่เหยียบย่ำไฟ เพราะท่านมีพระคุณแก่โลกและสัตว์โลกอย่างมาก โมหะชนที่เอาแต่โทสะเป็นที่ตั้ง จึงตำหนิไฟเวลาไฟไหม้ ทั้งๆ ที่คนประมาณเป็นผู้ก่อขึ้นสูง สร้างกรรมขึ้นเองทั้งสิ้น แต่ก็อดตำหนิไฟไม่ได้ จิตของคนจึงเศร้าหมอง หากตายตอนนั้นก็ไปสู้ทุคติ ถุกไฟนรกเผาไหม้ตามกรรมที่ตนทำไว้

4.พระองค์ทรงสรุปว่า ธาตุทั้งหลายจงหมั่นบูชา ระลึกถึงบุญคุณของแม่พระทุกๆ ท่าน ถ้าเจ้าลืมพระคุณของแม่พระทั้ง 5 ท่านแม่ทั้ง 5 ก็จะช่วยให้ธาตุทั้งปวงสามัคคีกันได้จนวันตาย และจงหมั่นอุทิศส่วนกุศลผลบุญให้กับแม่พระทั้ง 5 ไว้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงพระนิพพาน

5.กรรมเรื่องการลบหลู่บุญคุณของแม่พระทั้ง 5 นี้อัศจรรย์มาก หากองค์ไม่ทรงเมมตามาสั่งสอนให้ ก็ไม่มีทางรู้และเข้าใจได้ ในอดีตผู้ใหญ่ท่านเคยส่อนว่า อย่าดูถูกดูหมิ่นหรือลบหลู่พระแม่โพสพ (ข้าว) บ่อยๆ แต่มิได้อธิบายเหตุผลให้ทราบ จึงจำกันต่อๆ มาเป็นสัญญา ความสงสัยหรือ วิกิจฉาจึงยังมีอยู่กับจิต เมื่อพระองค์ทรงเมตตาให้รู้-เห็น ตามความเป็นจริงแล้ว ความสงสัยก็หมดไป

6.โดยปกติของพระพุทธองค์ ธรรมใดที่ไม่จริง พระองค์จะไม่ตรัส ตรัสอย่างใดก็เป็นอย่างนั้นไม่เป็นอื่น คำสอนของพระองค์จึงเป็นหนึ่งเสมอ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเพราะว่าอริยสัจหรือความจริงทุกคำพูด จัดเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างไม่รู้จะเอาอะไรมาเปรียบได้ พวกเราจึงควรตอบแทนพระคุณของท่าน โดยใช้ขันธ์ 5 หรือร่างกายของเรานี้ใช้พระพุทธศาสนาไปจนกว่าจะพัง โดยไม่บ่นแม้แต่ทางใจ (มโนกรรม) คำสอนใดๆ ที่พระองค์จัดว่าดี ก็ควรรีบปฏิบัติให้เกิดผลโดยเร็ว ธรรมใดที่พระองค์ห้ามไว้ ก็พยายามละให้เด็ดขาดในเวลาอันสั้นที่สุด

7.เรื่องกรรมบถสิบหมวดวาจา 4 (ไม่พูดโกหก-คำหยาบ-ส่อเสียด-และเรื่องไร้สาระ) บุคคลที่ขาดความดีในหมวดนี้จึงหลงลืมพูดวาจาลบหลู่ดูหมิ่นพระแม่ทั้ง
5 เพราะมี โมหะ โทสะ ราคะเป็นเหตุ ใช้คำพูดว่าดินมันแข็ง.น้ำมันท่วม ลมมันพัดหรือมันร้อน . ไฟมันร้อน .ข้าวมันแข็ง มันเหนียวมันแฉะ มันไหม้ มันบูด เป็นต้น ล้วนแต่เป็นคำหยาบที่ใช้กับผู้มีพระคุณทั้งสิ้น จะโดยเจตนาหรือไม่มีเจตนาก้ดีล้วนแต่ยังจิตใจหยาบขาดกรรมบถสิบ หมวดวาจา 4 ทั้ง สิ้น หากไม่ระวังและแก้ไขจิตตยเอง จิตก็จะชินในความชั่วเรื่องวจีกรรม ในที่สุดกลายเป็นวิสัย เป็นสันดานประจำจิต และที่สุดก็อาจจะปรามาสพระรัตนตรัยโดยไม่ตั้งใจ โดยเอาคำว่ามันนำหน้า เช่น พระมัน , ครูมัน , พ่อมัน , แม่มัน, ผลเมื่อกายพังก็ต้องลงนรกไปตามกรรมที่ตนเองทำไว้ทั้งสิ้น

8.พระพุทธองค์เคยเมตตาให้ดูอย่างของจริง ตอนที่หลวงพ่อฤาษียังมีชีวิตอยู่ มีความสำคัญสั้นๆ ดังนี้
ทรงบอกล่วงหน้าว่า ให้สังเกตบุคคลท่านหนึ่งซึ่งจะร่วมวงกินข้าวด้วยวันนี้ ซึ่งมีนิสัยกินไปบ่นไป ว่าข้าวมันแฉะ ข้าวมันไหม้...แล้ว จะเห็นผมปรากฏ ผมจริงตามนั้น เขาผู้นั้นกินไปติกรรมของพระแม่โพสพไป ทำให้เกิดอาการสำลักข้าว และอาหารที่กินจนเกือบหายใจไม่ออกตาย และทรงเมตตาตรัสสอนต่อไปว่า บุคคลเหล่านี้มักจะมีอาการธาตุ 4 ไม่สมดุลกัน ทำให้เกิดอาการท้องเสีย หรือเป็นโรคเกี่ยวกับระบบการย่อยอาหารเสมอ (โรคกระเพาะและลำไส้) จึงขอเตือนผู้อ่านบทความนี้ไว้ให้ระมัดระวังเรื่องการตำหนิกรรมของพระแม่ทั้ง 5 เพราะไม่มีคำว่าสายเกินแก้ในพระพุทธศาสนา เมื่อรู้ว่าผิด รู้ว่าไม่ดี รู้ได้ที่ใจเราก่อน ทั้งสิ้น กรุณาอ่านเรื่องอุบายละความชั่วที่ใจเราประกอบจะมีความประโยชน์มาก

ด้วยพระคุณของพระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ อันหาประมาณมิได้เป็นที่ตั้ง ผมขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านจงโชคดีอ่านแล้วจำได้ก่อน จึงค่อยนำไปคิดพิจารณา เพื่อให้เกิดความเข้าใจหรือตัวรู้ อันเป็นปัญญาที่แท้จริงในพระพุทธศานา ทำให้เกิดผล มีดวงตา (ใจ) เห็นธรรมตามลำดับ จนถึงพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ด้วยกันทุกท่านเทอญ

พระราชพรหมยานมหาเถระ (หลวงพ่อฤาษีวัดท่าซุง)
รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน จากหนังสือ ธรรมที่นำสู่ความพ้นทุกข์ (เล่มที่ 4)

1. สมเด็จองค์ปฐม ทรงเมตตาสอนเรื่องพรหมวิหาร 4 ทรงตรัสว่า
ก) ใครจักกรุณาไม่สำคัญ สำคัญอยู่ตัวของเจ้าเองต้องหมั่นกรุณาตัวของเจ้าเอง จงรู้เองไว้เถิดว่า คราวใดที่เจ้ายังอารมณ์จิตเร่าร้อนไปด้วย ไฟโมหะ โทสะ ราคะนั้น เจ้าได้สิ้นความกรุณาแก่ตัวเจ้าเอง

ข) พรหมวิหาร 4 จักต้องเมตตาตัวเองเป็นบาทต้น ธรรมปฏิบัติทุกประการ จักต้องทำให้เกิดผลกับตนก่อน พระธรรม คือ อริยสมบัติอันล้ำค่า จักต้องปฏิบัติให้เกิดผลกับตนเองก่อน จึงจักเป็นของแท้ ตราบเมื่อมีอริยทรัพย์เกิดขึ้นในตน ในจิตของตนแล้วย่อมได้ชื่อว่าเป็นอริยเจ้าอย่างแท้จริง ซึ่งเมื่อต่อ ๆ ไปจักนำธรรมที่ปฏิบัติแล้วไปแจกจ่ายกับใครตามที่ตนเองปฏิบิติได้มา จึงจักเป็นของจริง อย่าลืมนะ พวกเจ้าต้องหมั่นสร้างพรหมวิหาร 4 ให้เต็มที่จิตที่ตัวของพวกเจ้าเองก่อน ธรรมทั้งหลายทั้งปวงจึงจักเป็นของแท้

ค) เมื่อเมตตา กรุณา ตนเองแล้ว ทำให้ได้ตามประการนี้จิตจักเป็นสุข สร้างมุทิตา อุเบกขาให้เกิดแก่จิต-แก่ตนเอง เมื่อเกิดแล้วก็จักวางทุกข์-วางสุขที่เกิดขึ้นมากระทบจิตได้อย่างสมบูรณ์ธรรมอัพยากฤษเกิดขึ้นได้ก็ที่ตรงนี้

ง) ละครโรงนี้ถ้าปิดได้โรงเดียวที่จิตของเรา ละครโรงอื่นไม่มีความหมาย จงหมั่นรูดม่านปิดให้ดีๆ อย่าให้อารมณ์ปรุงแต่งมาสอดแทรก เข้ามาแสดงบทบาทแห่งละครโรงนี้ได้ หมั่นนำคำไปสอนไปปฏิบัติกันนะ

หลวงปู่มั่นตอบปัญหาธรรม



ชาวโคราชถามปัญหาหลวงปู่มั่น
อาตมาไม่หิว อาตมาไม่หลง จึงไม่หาอะไรให้ยุ่งไป


ชาวโคราช
เท่าที่ท่านอาจารย์มาโคราชคราวนี้ เป็นการมาเพื่ออนุเคราะห์ประชาชนตามคำนิมนต์เพียงอย่างเดียว หรือยังมีหวังเพื่อมรรคผลนิพพานอยู่ด้วยในการมารับนิมนต์คราวนี้

หลวงปู่มั่น
อาตมาไม่หิว อาตมาไม่หลง จึงไม่หาอะไรให้ยุ่งไป อันเป็นการก่อทุกข์ใส่ตัว คนหิวอยู่เป็นปกติสุข ไม่ได้จึงวิ่งหาโน่นหานี่ เจออะไรก็คว้าติดมือมาโดยไม่คำนึงว่าผิดหรือถูก ครั้นแล้วสิ่งที่คว้ามาก็มาเผา ตัวเองให้ร้อนยิ่งกว่าไฟ อาตมาไม่หลงจึงไม่แสวงหาอะไร คนที่หลงจึงต้องแสวงหา ถ้าไม่หลงก็ไม่ต้องหา จะไปหาให้ลำบากทำไม อะไรๆ ก็มีอยู่กับตัวเองอย่างสมบูรณ์อยู่แล้วจะตื่นเงาและตะครุบเงาไปทำไม

เพราะรู้แล้วว่าเงาไม่ใช่ตัวจริง ตัวจริงคือสัจจะทั้ง ๔ ก็มีอยู่ภายในกายในใจอย่างสมบูรณ์แล้ว และรู้อย่างหมดสิ้นแล้ว จะหาอะไรกันอีกถ้าไม่หลง ชีวิตลมหายใจยังมีและผู้มุ่งประโยชน์กับเรายังมี ก็สงเคราะห์กันไปอย่างนั้นเอง คนหาคนดีมีศีลธรรมในใจนั้นหายากยิ่งกว่าเพชรนิลจินดาเป็นไหนๆ ได้คนดีเพียงคนเดียวย่อมมีคุณค่ามากกว่าเงินเป็นล้านๆ เพราะเงินเป็นล้านๆ ไม่สามารถทำความร่มเย็นให้แก่โลกได้อย่างถึงใจ เหมือนได้ คนดีมาทำประโยชน์คนดีแม้เพียงคนเดียวยังสามารถทำความเย็นใจให้แก่โลกได้มากมายและยั่งยืน เช่น พระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลายเป็น ตัวอย่าง

คนดีแต่ละคนมีคุณค่ามากกว่าเงินเป็นก่ายกองและเห็นคุณค่าแห่งความดีของตนที่จะทำต่อไปมากกว่าเงิน แม้จะจนก็ยอมจน ขอแต่ให้ตัวดีและโลกมีความสุข

แต่คนโง่ชอบเงินมากกว่าคนดีและความดี ขอแต่ได้เงินแม้ตัวจะเป็นอย่างไรไม่สนใจคิดถึงจะชั่วช้าลามกหรือแสนโสมมเพียงไรก็ตาม ขนาดนายยมบาลเกลียดกลัวไม่อยากนับเข้าบัญชีผู้ต้องหา กลัวจะไปทำลายสัตว์นรกด้วยกันให้เดือดร้อนชิปหายก็ไม่ว่า ขอแต่ได้เงินก็เป็นที่พอใจ ส่วนจะผิดถูกประการใด ถ้าบาปมีค่อยคิดบัญชีกันเองโดยเขาไม่ยุ่งเกี่ยวคนดดีกับคนชั่วและสมบัติเงินทองกับธรรม คือคุณงามความดีผิดกันอย่างนี้แล ใครมีหูมีตาก็รีบคิดเสียแต่บัดนี้ อย่าทำให้สายเกินไป จะหมดทางเลือกเฟ้น การให้ผลก็ต่างกันสุดแต่กรรมของตนจะอำนวย จะทักท้วงหรือคัดค้านไม่ได้ กรรมอำนวยให้อย่างใดต้องยอมรับเอาอย่าง นั้น

ฉะนั้นสัตว์โลกจึงต่างกัน ทั้งภพกำเนิด รูปร่าง ลักษณะ จริต นิสัย สุข ทุกข์ อันเป็นสมบัติประจำตัวของแต่ละราย แบ่งเบาแบ่งหนักกันไม่ได้ ใครมีอย่างไรก็หอบหิ้วไปเอง ดีชั่ว สุขทุกข์ก็ยอมรับ ไม่มีอำนาจปฏิเสธได้ เพราะไม่ใช่แง่กฎหมาย แต่เป็นกฎของกรรม

ชาวโคราช
ขอประทานโทษพวกกระผมเคยได้ยินกิตติศัพท์กิติคุณท่านอาจารย์โด่งดังมานานแล้ว ไม่ว่าครูอาจารย์หรือพระเณรองค์ใดตลอด ฆราวาส ใครพูดถึงอาจารย์ล้วนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า อาจารย์มิใช่พระธรรมดาดังนี้ จึงกระหายอยากฟังเมตตาธรรมท่าน แล้วจะได้เรียนถามไปตามความอยากความหิว แต่ไม่มีความฉลาดรอบคอบในการถามซึ่งอาจจะทำความกระเทือนแก่ท่านอยู่บ้าง กระผมก็สนใจปฏิบัติมานานพอควร จิตใจนับว่าได้รับความร่มเย็นประจักษ์เรื่อยมา ไม่เสียชาติที่เกิดมาพบพระศาสนาและยังได้ กราบไหว้ครูอาจารย์ผู้ศักดิ์สิทธิ์วเศษด้วยการปฏิบัติธรรม แม้ปัญหาธรรมที่เรียนถามวันนี้ก็ได้รับความแจ้งชัดเกินคาดหมาย วันนี้เป็นหายสงสัยเด็ดขาดตามภูมิของคนมีกิเลสที่ยังอยู่ก็ตัวเองเท่านั้นจะสามารถปฏิบัติให้ได้มากน้อยเพียงใด

หลวงปู่มั่น โยมมาถามอย่างนั้นอาตมาก็ต้องตอบไปอย่างนั้น เพราะอาตามาไม่หิวไม่หลงจะให้อาตมาไปหาอะไรอีก อาตมาเคย หิวเคยหลง มาพอแล้ว ครั้งปฏิบัติที่ยังไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไรโน้น อาตมาแทบตายอยู่ในป่าในเขาคนเดียวไม่มีใครไปเห็นจนพอลืมหูลืมตาได้บ้าง จึงมีคนนั้นไปหาคนนี้ไปหา แล้วร่ำลือกันว่าวิเศษอย่างนั้นอย่างนี้ ขณะอาตมาสลบสามหนรอดตายครั้งนั้นไม่เห็นใครทราบและร่ำลือบ้าง จนเลยขั้นสลบและขั้นตายมาแล้ว จึงมาเล่าลือกันหาประโยชน์อะไร อยากได้ของดีที่มีอยู่กับตัวเราทุกคน ก็พากันปฏิบัติเอาทำเอา เมื่อเวลาตายแล้วจึงพากันวุ่นวาย หานิมนต์พระมาให้บุญ กุสลามาติกา นั่นไม่ใช่เกาถูกที่คันนะจะว่าไม่บอก ต้องรีบเกาให้ถูกที่คันเสียบัดนี้ โรคคันจะได้หายคือเร่งทำความดีเสียแต่บัดนี้จะได้หายว่วงหายหวงกับอะไรอะไรที่เป็นสมบัติของโลกมิใช่สมบัติอันแท้จริงของเรา แต่พากันจับจองเอาแต่ชื่อของมันเปล่าๆ ตัวจริงไม่มีใครเหลียวแล

สมบัติในโลกเราแสวงหามาเป็นความสุขก็พอหาได้ จะแสวงหามาเป็นไฟก็ทำให้ฉิบหายได้จริงๆข้อนี้ขึ้นอยู่กับความฉลาดและความโง่เขลา ของผู้แสวงหาแต่ละรายท่านผู้พ้นทุกข์ไปด้วยความอุตส่าห์สร้างความดีใส่ตน จนกลายสรณะของพวกเราจะเข้าใจว่าท่านไม่เคยมีสมบัติเงินทอง เครื่องหวงแหนอย่างนั้นหรือ เข้าใจว่าเป็นคนร่ำรวยสวยงามเฉพาะสมัยพวกเราเท่านั้นหรือ จึงพากันรักพากันหวงพากันห่วงจนไม่รู้จักเป็นรู้จักตาย บ้านเมืองเราสมัยนี้ไม่มีป่าช้าสำหรับเผาหรือฝังคนตายอย่างนั้นหรือจึงสำคัญว่าตนจะไม่ตาย และพากันประมาทจนลืมเนื้อลืมตัว กลัวแต่จะไม่ได้กิน ไม่ได้นอนกลัวแต่จะไม่ได้เพลิดไม่ได้เพลิน ประหนึ่งโลกจะดับสูญไปเดี๋ยวนี้ จึงรีบพากันตักตวงเอาความไม่เป็นท่าใส่ตนแทบหาบไม่ไหว อันสิ่งเหล่านี้ แม้แต่สัตว์เขามีได้เหมือนมนุษย์เรา อย่าสำคัญว่าตนเก่งกาจสามารถฉลาดรู้ยิ่งกว่าเขาเลย ถึงกับสร้างความืดมิดปิดตามทับถมตัวเองจนไม่มีวันสร่างซา เมื่อถึงเวลาจนตรกอาจจนยิ่งกว่าสัตว์ ใครจะไปทราบได้ถ้าไม่เตรียมทราบไว้ตั้งแต่บัดนี้ อาตมาต้องขออภัยด้วยถ้าพูดหยาบคายไป แต่คำพูดที่สั่งสอนให้คนละชั่วทำดียิ่งจัดเป็นคำหยาบคายอยู่แล้ว โลกเราก็จะถึงคราวหมดสิ่นศาสนาเพราะไม่มีผู้ ยอมรับความจริง การทำบาปหยาบคายมีมาประจำแทบทุกคนทำให้ผลเป็นทุกข์ ตนยังไม่อาจรู้ได้ และตำหนิมันแต่กลับตำหนิคำสั่งสอนที่หยาบคายนับว่าเป็นโรคที่หมดหวัง

วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เมืองไทยของเราได้เป็นมหาอำนาจ

ที่มีพระอริยสงฆ์เกิดขึ้นมา.............มากที่สุดในโลก

รายชื่อ พระอริยสงฆ์สายหลวงปู่มั่นที่หลวงตามหาบัวรับรอง


(พระสุปฏิปัญโณ พระปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ศีลบริสุทธิ์สะอาด)

1.ท่านอาจารย์เจี๊ยะ จุนโท (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ) วัดป่าภูริทัตปฏิปทาราม อ.สามโคก จ.ปทุมธานี
2.หลวงปู่ลี กุสลธโร วัดภูผาแดง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
3.หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร วัดป่าประชาชุมพลพัฒนาราม อ.เมือง จ.อุดรธานี
4.หลวงปู่ขาล ฐานวโร (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
วัดป่าบ้านเหล่า อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย
5.พระอาจารย์แบน ธนากโร วัดดอยธรรมเจดีย์ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร
6.หลวงปู่หลวง กตปุญโญ (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ) วัดคีรีสุบรรพต จ.ลำปาง

7.อาจารย์เหรียญ วรลาโภ (มรณภาพแล้วยังไม่ประชุมเพลิง) วัดอรัญบรรพต อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
8.อาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย (มรณภาพแล้วยังไม่ประชุมเพลิง) วัดเขาสุกิม อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี
9.หลวงปู่หลอด ประโมทิโต วัดสิริกมลาวาส (วัดใหม่เสนานิคม) เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร

10.หลวงปู่มหาเนียม สุวโจ วัดเจริญสมณกิจ (หลังศาลภูเก็ต ) อ.เมือง จ.ภูเก็ต
11.หลวงปู่มหาเจิม ปัญญาพโล วัดสระมงคล อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
12.หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด
13.พระอาจารย์สายทอง เตชธัมโม วัดป่าห้วยกุ่ม (ใกล้เขื่อนจุฬาภรณ์ ) อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ

14.หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป วัดป่าประทีปปุญญาราม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
15.พระอาจารย์ประสิทธิ์ ปุญมากโร วัดป่าหมู่ใหม่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
16.พระอาจารย์เลี่ยม ฐิตธัมโม วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
17.หลวงปู่ทา จารุธัมโม วัดถ้ำซับมืด จ.นครราชสีมา (มรณภาพแล้ว)
18.พระอาจารย์เพียร วิริโย วัดป่าหนองกอง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

19.อาจารย์สาย เขมธัมโม วัดป่าพรหมวิหาร อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู
20.อาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดอรัญวิเวก อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
21.หลวงปู่วิริยังค์ สิรินธโร วัดธรรมมงคล เขตพระโขนง จ.กรุงเทพมหานคร
22.อาจารย์พวง สุขินทริโย วัดศรีธรรมมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร
23.หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต วัดถ้ำกลองเพล อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู

24.หลวงตาแตงอ่อน กัลป์ยาณธัมโม วัดป่าโชคไพศาล อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร
25.หลวงปู่บุญหนา ธัมทินโน วัดป่าโสตถิผล อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
26.หลวงปุ่บุญพิน กตปุญโญ วัดผาเทพนิมิตร อ.นิคมน้ำอูน จ.สกลนคร
27.หลวงปู่ลี ฐิตธัมโม (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
วัดเหสลึก อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
28.หลวงปู่แปลง สุนทโร วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
29.หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ) วัดป่าสันติกาวาส อ.ไชยวาน จ.อุดรธานี

30.หลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป วัดโพธิ์สมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี
31.พระอาจารย์ท่อน ญาณธโร วัดศรีอภัยวัน อ.เมือง จ.เลย
32.พระอาจารย์อุ่นหล้า ฐิตธัมโม วัดป่าแก้วชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
33.พระอาจารย์คำบ่อ ฐิตปัญโญ วัดใหม่บ้านตาล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
34.พระอาจารย์อุทัย สิรินธโร วัดถ้ำพระ อ.เซกา จ.หนองคาย

35.หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต สำนักสงฆ์สวนทิพย์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
36.พระอาจรย์วิไล เขมิโย วัดถ้ำพณาช้างเผือก อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ
37.หลวงปู่จันทา ถาวโร วัดป่าเขาน้อย อ.วังทรายพูล จ.พิจิตร
38.อาจารย์อ่ำ ธัมกาโม วัดธุดงคสถานสันติวรญาณ อ.วังโป่ง จ.เพรชบูรณ์
39.หลวงปู่ถวิล จ.อุดรธานี (ไม่ทราบที่อยู่และฉายาท่าน)

40.อาจารย์อินทร์ถวาย สันตุสโก วัดป่านาคำน้อย อ.นายูง จ.อุดรธานี
41.อาจารย์วันชัย วิจิตโต วัดภูสังโฆ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
42.หลวงปู่มี (เกล้า) ประมุตโต วัดดอยเทพนิมิตร (วัดถ้ำเกีย ) อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
43.อาจารย์เสน ปัญญาธโร วัดป่าหนองแซง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
44.อาจารย์คำแพง อัตสันโต วัดป่าหนองวัวซอ (วัดบุญญานุสรณ์ )อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

45.พระอาจารย์ปัญญาวัฒโท (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ) วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี
46.หลวงปู่มี (เกล้า) ประมุตโต วัดดอยเทพนิมิตร (วัดถ้ำเกีย ) อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
47.อาจารย์เสน ปัญญาธโร วัดป่าหนองแซง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
48.อาจารย์คำแพง อัตสันโต วัดป่าหนองวัวซอ (วัดบุญญานุสรณ์ ) อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
49.พระอาจารย์ปัญญาวัฒโท (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ) วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี

50.ท่านฤาษีลิงดำ (พระราชพรหมญาณ )
(ท่านมรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ ) วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี

51.หลวงปู่สิม เคยปรารภให้อาจารย์มหาบัวฟัง
52.หลวงปู่สังวาลย์ เขมโก จ.สุพรรณบุรี
53.หลวงปู่ท่านครูบาพรหมาวัดพระพุทธบาทตากผ้า จ.ลำพูน
54.พระอาจารย์มหาโส กัสโป วัดป่าคำแคนเหนือ อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น
55.หลวงปู่คำฟอง เขมจาโร (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ) วัดกุดเรือคำ อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร

56.หลวงปู่บุญเพ็ง กัปโป วัดป่าวิเวกธรรม (วัดป่าช้าเหล่างา) อ.เมือง จ.ขอนแก่น
57.หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ วัดเกาะแก้วะดงคสถาน อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์
58.คุณแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ) สำนักชีบ้านห้วยทราย อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร

59.พระอาจารย์ทุย (ปรีดา) ฉันทกโร วัดป่าดานวิเวก อ.โซ่พิสัย จ.หนองคาย
60.พระอาจารย์สรวง สิริปุญโญ วัดป่าศรีฐานใน อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร
61.พระอาจารย์สาคร ธัมวุธโธ วัดป่ามณีกาญจ์ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
62.พระอาจารย์จันทร์โสม กิตติกาโม วัดป่านาสีดา อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี (มรณภาพแล้ว)
63.พระอาจารย์แยง สุขกาโม วัดเจติยาคีรีวิหาร (ภูทอก) อ.ศรีวิไล จ.หนองคาย
64.หลวงปู่แฟ็บ สุภัทโท วัดป่าดงหวาย อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร
65.พระอาจารย์จันทร์เรียน คุณวโร วัดถ้ำสหายธรรมจันทร์นิมิตร อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
66.หลวงปู่ผาง โกสโล วัดภูหินแตก อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
67.หลวงปู่หล้า เขมปัตโต (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ) วัดบนนพตคีรี (ภูจ้อก้อ) อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร
68.ท่านพระอาจารย์สิงทอง ธัมวโร(มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)วัดป่าแก้วชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

69.หลวงปู่อ่อนศรี ฐานวโร วัดถ้ำประทุน ต.เขาไม้แก้ว อ.บางละมุง จ.ชลบุรี
70.หลวงปู่ต้น สุทธิกาโม วัดบึงพลาราม ต.บ้านว่าน อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย
71.หลวงปู่สมศักดิ์ ปัณฑิโต วัดบูรพาราม ( วัดหลวงปู่ดูลย์ อตุโล )ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์

72.หลวงปู่ทอง จันทสิริ วัดอโศการาม ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
73.หลวงปู่ทองใบ ปภสฺสโร สำนักวิปัสสนาธุระ (ภูย่าอู่)
บ.นาหลวง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
74.หลวงปู่คูณ สุเมโธ วัดป่าภูทอง ต.บ้านผือ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
75.พระอาจารย์ฟัก สันติธัมโมวัดพิชัยพัฒนาราม ( วัดป่าเขาน้อยสามผาน ) ต.สองพี่น้อง อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี

76.หลวงปู่สุทัศน์ โกสโล วัดกระโจมทอง ต.วัดชลอ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
77.หลวงปู่อ้ม สุขกาโม วัดภูผาผึ้ง อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร
78.ท่านพระอาจารย์สุธรรม สุธัมโม วัดป่าหนองไผ่ ต.ดงมะไฟ อ.เมือง จ.สกลนคร
79.ท่านพระอาจารย์หลอ นาถกโรวัดถ้ำอภัยดำรงธรรม(วัดถ้ำพวง วัดพระอาจารย์วัน อุตโม) อ.ส่องดาว จ.สกลนคร

80.หลวงพ่อทองคำ กาญวันวัณโณ วัดถ้ำบูชา อ.เซกา จ.หนองคาย
81.หลวงปู่ถิร ฐิตธัมโม (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ) วัดทิพยรัฐนิมิตร (วัดป่าบ้านจิก) อ.เมือง จ.อุดรธานี
82.พระอาจารย์ทองอินทร์ กตปุญฺโญ วัดป่ากุง (วัดป่าประชาคมวนาราม )อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด

83.หลวงปู่เผย วิริโย วัดถ้ำผาปู่ ต.นาอ้อ จ.เลย
84.หลวงปู่คำพอง ขันติโก วัดป่าอัมพวัน จ.เลย
85.หลวงปู่อว้าน เขมโก วัดป่านาคนิมิตร อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร
86.ท่านพระอาจารย์วิชัย เขมิโย วัดถ้ำผาจม จ.เชียงราย
87.พระอาจารย์บุญทัน ปุญทัตโต (ท่านเพิ่งจะมรณภาพ เดือน ธค.49 ) วัดป่าสามัคคีสันติธรรม อ.ฝาง จ.ขอนแก่น
88.หลวงปู่พิศดู ธรรมจารีย์ วัดเทพธารทอง ต.พลวง กิ่งอ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี
89.หลวงปู่เนย สมจิตฺโต วัดป่าโนนแสนคำ บ.ทุ่งคำ ต.เจริญศิลป์ อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร
90.หลวงปู่สังข์ สังกิจโจ วัดป่าพระอาจารย์ตื้อ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
91.ท่านพระอาจารย์อุทัย ธมฺมวโร วัดภูย่าอู่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
92.หลวงปู่ประสาร สุมโน วัดป่าหนองไคร้ ต.หนองหิน อ.เมือง จ.ยโสธร

การสร้างหลักประกันให้กับชีวิต

การสร้างหลักประกันให้กับชีวิต ในทางที่ดีคือสุคติ


ชีวิตนี้เกิดมาจะไร้ค่า ถ้าไม่รู้จักแสวงหาหลักประกันให้กับชีวิต เพราะชีวิตต้องท่องเที่ยวไปตามยถากรรมตามอำนาจของบุญและบาป (คือกุศลจิตหรืออกุศลจิตเป็นเหตุ) ถ้าเราได้สร้างคุณงามความดีไว้มากๆ ก็จะได้ไปเกิดในสวรรค์ ถ้าเราสร้างแต่ความชั่วก็ต้องไปเกิดในแดนนรกหรือสัตว์เดรัจฉานเป็นแน่ ถ้าสร้างทั้งสองอย่างเสมอกันก็ไม่แน่ว่าจะได้ไปเกิดเป็นอะไร ก็แล้วแต่ขณะจิตเดียวจะเกิดด้วยกุศลจิต หรืออกุศลจิต ขณะจิตเดียวที่ว่าก็คือคนเราเวลาจะตาย จะเกิดจิตที่จะตายขึ้นมาดวงหนึ่งเรียกว่า ”จุติจิต” จุติจิตนี้จะอาศัยกุศลจิต หรืออกุศลจิตเป็นเหตุให้เกิด ”จุติจิต” แล้วก็ดับไปกลายเป็นปฏิสนธิจิต คือไปเกิดตามอำนาจของกุศลคือบุญ หรืออกุศลคือบาป ถ้าปกติเราไม่เคยได้ท่องธัมมะภาวนาเพื่อเจริญสติ ให้จิตเป็นกุศลเตรีอมพร้อมไว้ โอกาสที่กุศลจิตจะเกิดในขณะจะตายก็คงเกิดได้ยาก เพราะจิตเรามักหลงไปกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ต่างๆอยู่ตลอดเวลาทำให้จิตส่งออก เพราะรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส คือวัตถุแห่งกามที่ชวนให้รัก, ชักให้ใคร่, พาใจให้ไหลหลง, ตลอดเวลาในชีวิตประจำวัน เป็นเหตุให้เกิดแต่กิเลสคือความอยาก ที่เป็นอกุศลจิตอยู่เสมอๆ

เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรเป็นคนประมาท ควรมาสร้างหลักประกันให้กับชีวิตของเรา จะดีกว่าด้วยการท่องธัมมะภาวนาไว้ในใจให้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะทำอะไรอยู่เป็นการชำระจิตให้ขาวรอบ เพื่อให้เกิดสติทำให้จิตเราเป็นกุศลจิต รู้จักปล่อยวางไม่ยินดียินร้าย ความยินดียินร้ายเป็นกิเลสคือความอยาก เป็นอกุศลจิต มีสติรู้ปล่อยวางได้ก็เป็นกุศลจิต จิตเป็นกุศล สุคติโลกสวรรค์ก็เป็นอันหวังได้.

คำท่องธัมมะภาวนาว่า “อย่ายินดียินร้าย...อย่าว่าร้ายใคร...อย่าคิดร้ายใคร...” เป็นบทภาวนาเพื่อให้เกิดสติรู้สกัดกั้นบาปอกุศลไม่ให้เกิดขึ้น ท่องกันไว้นะเพื่อสร้างหลักประกันให้กับชีวิต ให้จิตมีสติเกิดแต่กุศลเตรียมไว้ เพราะชีวิตนี้มีแต่ความไม่เที่ยง อะไรๆมันไม่แน่อยู่เสมอ พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสไว้ว่า “ความเพียรเป็นกิจที่เราจะต้องทำในวันนี้ ใครเล่าจะรู้ว่า ความตายอาจจะมีมาในวันพรุ่งนี้” ดังนี้.

โดยหลวงพ่ออุดม มหาปุญโญ วัดป่าหนองเลง

เราควรรู้จักการชำระจิตของตน

เราควรรู้จักการชำระจิตของตน ให้สะอาดไว้เสมอๆเพื่อความสงบสุข


ธรรมชาติของจิต ชอบจดจำสิ่งต่างๆที่เราได้เห็น เราได้ยิน เราได้กลิ่น เราได้รับรส เราได้สัมผัสทางกาย และใจที่นึกคิดเรื่องราวต่างๆ พร้อมด้วยอารมณ์ คือความรู้สึกยินดียินร้ายบ้าง,ความรู้สึกพอใจหรือไม่พอใจบ้าง,ที่เป็นบาปอกุศลจิต เป็นกิเลสกาม เกิดอัตตาอคติและตัณหา ของแต่ละวันที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ถูกเก็บเอาไว้ในใจ หรือในจิตใต้สำนึก(คือสัญญาขันธ์ แปลว่าความจำได้หมายรู้)ที่เรียกว่าอนุสัยกิเลส จึงเป็นเหตุให้จิตใจของเรามีแต่ความฟุ้งซ่านเศร้าหมอง มีความสงสัย ความหวาดกลัว ความโกรธเกลียด ความโลภหลง ความระแวงภัย และเป็นทุกข์ใจ จะละสาเหตุเหล่านี้ได้ก็ต้องอาศัยการท่องธัมมะภาวนาไว้ เพื่อชำระจิตใจให้สะอาดหมดจดจากเครื่องเศร้าหมองคือกิเลสกามตัณหา ไม่ให้จิตจดจำเก็บเอาไว้ในใจเป็นอนุสัยกิเลสหรือในจิตใต้สำนึก.

ดังโอวาทปาติโมกข์ได้กล่าวไว้ การไม่ทำบาปทั้งปวง,การทำกุศลให้ถึงพร้อม,การชำระจิตของตนให้ขาวรอบหมดจดจากเครื่องเศร้าหมอง,

คำท่องธัมมะภาวนามีอยู่ว่า “อย่ายินดียินร้าย...อย่าว่าร้ายใคร...อย่าคิดร้ายใคร...” ควรท่องธัมมะภาวนาบทนี้ไว้ในใจอยู่เสมอๆ ในชีวิตประจำวันของเรา เพราะเป็นหลักแห่งการชำระจิตนี้ให้สะอาดหมดจดจากเครื่องเศร้าหมองคือบาปอกุศลจิต และกิเลสกามตัณหา การท่องภาวนาไว้ตลอดเวลาจัดเป็นมรรคคือการดำริชอบ เมื่อสติเกิดรู้ละความรู้สึกยินดียินร้ายได้เป็นผล ก็คือการรู้ละบาปอกุศล ละกิเลสกามตัณหา และอัตตาอคติไปด้วยกัน จิตนี้ก็จะสะอาดหมดจดเป็นกุศลจิตกุศลธรรม และหมั่นสังเกตจิตตัวเองไว้ด้วยเวลาจะพูดอะไร จะทำอะไร จะคิดอะไร อย่าทำ พูด คิด ด้วยอารมณ์คือความรู้สึกยินดียินร้าย ถ้าทำได้อย่างนี้ในไม่ช้าท่านก็จะพบแต่ความสงบสุขมีจิตที่นิ่งเป็นกรรมฐาน เพราะจิตสะอาดหมดจดจากเครื่องเศร้าหมอง คือกิเลสกามตัณหา จากบาปอกุศลจิต เป็นจิตธรรมเป็นกุศลจิต สันติสุขในใจก็เกิดขึ้น และทำให้เกิดปัญญารู้แจ้งในสภาวธรรมต่างๆ ที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสไว้ด้วยเป็นวิปัสสนา เพราะมีอธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา ดังนี้.

โดยหลวงพ่ออุดม มหาปุญโญ วัดป่าหนองเลง

ธรรมะทำให้คนไม่ดีเป็นคนดีได้

ธรรมะทำให้คนไม่ดีเป็นคนดีได้ ส่วนคนที่ดีอยู่แล้วก็จะดียิ่งขึ้น


ทุกวันนี้สังคมของคนดีมีน้อยลง ก็เพราะคนเราทนต่อสิ่งเย้ายวนใจไม่ค่อยได้ จึงทำให้คนที่ดีกลายเป็นคนที่ไม่ดีไปได้ ส่วนคนที่ไม่ดีก็จะกลายเป็นคนที่ร้ายยิ่งขึ้นไป สิ่งเย้ายวนใจคืออะไร ก็คือวัตถุกามได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ชวนให้รัก,ชักให้ใคร,พาใจให้ไหลหลง,ถ้าเราหลงไปยินดียินร้ายเข้า ก็ทำให้เกิดกิเลสกามคือความอยาก เกิดความโลภ ความโกรธ ความหลง คนดีจึงกลายเป็นคนไม่ดี คนไม่ดีก็จะกลายเป็นคนร้ายยิ่งๆขึ้น เราจะเห็นได้ตามข่าวสารต่างๆ ที่คนดีทำสิ่งที่ไม่ดีคือพูดไม่ดีพูดให้ร้ายกัน เป็นวจีทุจริต การทำร้ายกันเป็นกายทุจริต และการพยาบาทปองร้ายกันเป็นมโนทุจริต สรุปคือเป็นการกระทำหรือการประพฤติตนในทุจริตธรรม ๓ อย่าง คือ ทุจริตทางกายเรียกกายทุจริต ทุจริตทางวาจาเรียกวจีทุจริต ทุจริตทางใจเรียกมโนทุจริต
ทุจริตทางกาย มี ๓ อย่าง คือการฆ่าสัตว์ ๑. การลักทรัพย์ ๑. การประพฤติผิดในกาม ๑, การทุจริตทางวาจา มี ๔ อย่าง คือการพูดโกหกหลอกลวง ๑. การพูดส่อเสียดคนอื่น ๑. การพูดเพ้อเจ้อไร้สาระให้ร้ายคนอื่น ๑. การพูดจาด่าคำหยาบคาย ๑, ส่วนทุจริตทางใจ มี ๓ อย่าง คือการคิดพยาบาทป้องร้ายเขา ๑. การคิดโลภอยากได้ของเขา ๑. การคิดเห็นผิดจากครองธรรม ๑, ทุจริตทั้ง ๓ อย่างนี้คนดีไม่ควรกระทำหรือประพฤติอย่างเด็ดขาด เพราะเป็นบาปอกุศล ทำไปแล้วสังคมก็จะติเตียนเป็นคนดีแต่เปลือกภายในเน่าเหม็น

ถ้าอยากประพฤติตนปฏิบัติตนเป็นคนดีของสังคม ก็จะต้องประพฤติปฏิบัติตนอยู่แต่ในสุจริตธรรม ๓ อย่าง ซึ่งเป็นสิ่งตรงข้ามกับการประพฤติตนในทุจริตธรรม ๓ อย่างนั้นเสีย ถ้าอยากให้มีสติอยู่ตลอดเวลา ในการกระทำไม่ผิดคือสุจริตธรรม ทางกาย ทางวาจา และทางใจ ก็ต้องเจริญสติอยู่เนืองๆเพื่อรักษาใจให้มีสติ ด้วยการท่องธัมมะภาวนาไว้ในใจให้ตลอดเวลาว่า “อย่ายินดียินร้าย...อย่าว่าร้ายใคร...อย่าคิดร้ายใคร...” จัดเป็นการปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เกิดสติรู้ปล่อยวางในบาปอกุศลจิตเสีย จิตของเราก็จะเป็นกุศลธรรม จิตมีธรรม ก็จะมีเมตตาธรรม การทำ การพูด การคิด ก็จะไม่ทำผิดทางธรรม คนไม่ดีก็จะเป็นคนดีได้ ถ้าได้ประพฤติตนปฏิบัติตนในสุจริตธรรมเช่นนี้ ส่วนคนดีก็จะดียิ่งขึ้นไป ทำให้มีความสงบสุขในชีวิตยิ่งขึ้น จัดเป็นความสุขในชาตินี้ และเป็นเหตุให้ได้รับความสุขในชาติหน้าอีกด้วย สังคมก็อยู่เย็นเป็นสุขกันถ้วนหน้า ไม่เกิดความวุ่นวาย ดังนี้.

โดยหลวงพ่ออุดม มหาปุญโญ วัดป่าหนองเลง

เหตุที่ตระกูลอันมั่งคั่ง

เหตุที่ตระกูลอันมั่งคั่งจะตั้งอยู่นานไม่ได้เพราะสถาน ๔


๑.ไม่แสวงหาพัสดุที่หายแล้ว,
๒. ไม่บูรณะพัสดุที่คร่ำคร่า,
๓. ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคสมบัติ,
๔. ตั้งสตรีหรือบุรุษทุศีลให้เป็นแม่เรือนพ่อเรือน,
ผู้หวังจะดำรงสกุล ควรเว้นสถาน ๔ ประการนี้เสีย.

อธิบายตระกูลหรือครอบครัวที่มีทรัพย์สมบัติมากๆ จะตั้งอยู่ ดำรงความมั่งคั่งไม่ได้นาน คือ จะล่มจมลงในไม่ช้า ก็เพราะความประพฤติของคนในตระกูลนั้นๆ โดยสถาน ๔ ตามที่ยกเป็นหัวข้อไว้ โดยมีคำอธิบายเสริมความ ดังนี้

สถานที่ ๑ หมายถึงเมื่อสิ่งของพัสดุเครื่องใช้ต่างๆ หายไป หมดไป ก็ไม่รู้จักหามาไว้คืน,

สถานที่ ๒ หมายถึงไม่รู้จักบูรณะซ่อมแซมของเก่าหรือของที่ชำรุด ปล่อยให้เสียไปตามกาลเวลา,

สถานที่ ๓ หมายถึงไม่รู้จักประมาณในการกินในการใช้ทรัพย์สมบัติ กินใช้อย่างฟุ่มเฟือย,

สถานที่ ๔ หมายถึงไม่ตั้งคนดีมีศีลธรรมเป็นพ่อบ้านแม่เรือน แต่กลับไปตั้งคนไม่มีศีลธรรมหรือคนประพฤติชั่วมัวเมาในอบายมุขมาเป็นใหญ่ คือเป็นพ่อบ้านหรือเป็นแม่เรือนมีอำนาจเบ็ดเสร็จในครอบครัว ไม่ช้าไม่นานก็จะเป็นเหตุนำพาให้ตระกูลที่มั่งคั่งมาแต่เดิม ต้องล่มจมลงไปในที่สุด

ส่วนเหตุที่ตระกูลมั่งคั่งจะตั้งอยู่ได้นาน ซึ่งเรียกว่า “กุลจิรัฎฐิติธรรม” คือธรรมสำหรับดำรงความมั่งคั่งของตระกูลให้ยั่งยืน ก็พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามนี้.

ฉะนั้น ผู้ที่จะเป็นแม่เรือนพ่อเรือนที่ดี จึงไม่ควรหลงอยู่ในอบายมุข ในกิเลสกามคือความอยาก ควรประพฤติตนปฏิบัติตนอยู่ในกุศลธรรมไว้ ด้วยการเจริญภาวนาให้มีสติ มีการท่องธัมมะภาวนาไว้ในใจให้เสมอๆ เพื่อให้มีสติรู้ละอกุศลจิต ละอกุศลธรรม ออกเสียจากใจที่เป็นสาเหตุให้เกิดกิเลสกามตัณหา ก็จะเป็นเหตุให้เราเป็นคนดี มีสุจริตธรรม ๓ ประการ คือกายสุจริต,วาจาสุจริต,และมโนสุจริต, เป็นเครื่องดำเนินชีวิต ก็จะเป็นแม่เรือนพ่อเรือนที่ดี มีคุณธรรมพร้อมที่จะรักษาสิ่งอันเป็นสมบัติของวงศ์ตระกูลให้ดำรงอยู่ได้ตลอดกาลนาน
คาถาไว้ท่องธัมมะภาวนาว่า “อย่ายินดียินร้าย...อย่าว่าร้ายใคร...อย่าคิดร้ายใคร...” เป็นการเจริญภาวนาให้มีสติ ให้จิตเป็นกุศลจิต กุศลธรรม การประพฤติปฏิบัติของตนก็จะตั้งอยู่ในสุจริตธรรม ๓ ประการ อันเป็นเครื่องหมายของคนดี ดังนี้.

โดยหลวงพ่ออุดม มหาปุญโญ วัดป่าหนองเลง

ศีล สมาธิ ปัญญา

ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นมรรค อันเอกอุกฤษฏ์


เดินทางนี้ตรงไปสู่ความดับทุกข์ได้แน่ อันพระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้า เป็นต้น ได้ดำเนินมาสำเร็จตามปรารถนามาแล้วทุกๆ พระองค์ มรรค ๘ เป็นทางดำเนินด้วยใจ ถึงแม้จะแสดงออกมาให้เป็นศีล ก็แสดงศีลในองค์มรรคนั่นเอง

มรรคแท้มีอันเดียว คือ สัมมาทิฏฐิ อีก ๗ ข้อเบื้องปลายเป็นบริวารบริขารของสัมมาทิฏฐิทั้งนั้น หากขาดสัมมาทิฏฐิตัวเดียวเสียแล้ว สัมมาสังกัปปะเป็นต้น ย่อมเป็นไปไม่ได้

เช่น ปัญญาพิจารณาเห็นความทุกข์ตามเป็นจริงว่า มนุษย์สัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาในโลกนี้ย่อมถูกทุกข์คุกคามอยู่ตลอดเวลา โลกนี้จึงเป็นที่น่าเบื่อหน่ายเห็นเป็นภัย แล้วก็ดำริตริตรองหาช่องทางที่จะหนีให้พ้นจากกองทุกข์ในโลกนี้

การดำริเช่นนั้นก็เป็นผลสืบเนื่องมาจาก สัมมาทิฏฐิ ปัญญาอันเห็นชอบนั่นเอง การดำริที่ชอบที่ถูกนั้นก็เป็นสัมมาวาจาอยู่แล้ว เพราะวาจาจะพูดออกมาก็ต้องมีการตริตรองก่อน การตริตรองเป็นศีลของอริยมรรค การพูดออกมาด้วยวาจาชอบเป็นศีลทั่วไป

การงานของใจ คือ ดำริชอบ วาจาชอบ อยู่ภายในใจ เป็นการงานของอริยมรรคผู้ไม่ประมาท ดำเนินชีวิตเป็นไปในอริยมรรคดังกล่าวมาแล้วนั้น ได้ชื่อว่าความเป็นอยู่ชอบของผู้นั้น ผู้พยายามดำเนินตามอริยมรรคดังกล่าวมาแล้ว โดยติดต่อกันตามลำดับไม่ขาดสายได้ชื่อว่ามีความเพียรชอบในมรรคทั้งแปด

๖ ข้อเบื้องต้นมีความเห็นชอบเป็นต้น มีความพยายามชอบเป็นที่สุด หากขาดสัมมาสติ ตั้งสติชอบเสียแล้ว จะเดินไปให้ถึงสัมมาสมาธิไม่ได้เลย เหมือนทางที่ไม่ติดต่อเชื่อมกัน จะนำยานพาหนะไปตลอดทางได้อย่างไร

องค์สุดท้ายคือสัมมาสมาธิ ยิ่งเป็นกำลังใหญ่สนับสนุนให้องค์มรรคนั้นๆ มีกำลังกล้าหาญที่จะไม่ท้อถอยในหน้าที่ของตนๆ พึงสังเกตดูเถิดว่า นักปฏิบัติโดยมาก หากสมาธิไม่มั่นคงแล้วมักไปไม่รอด ปัญญาสัมมาทิฏฐิเป็นผู้ส่องทางให้เห็นทางเดินก็จริง แต่เมื่อสติกับสมาธิอ่อนกำลังลงแล้ว ปัญญาอาจกลายเป็นสัญญาเป็นสังขารไปโดยไม่รู้ตัวก็ได้





ที่มา : สามทัพธรรม หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

การทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ให้ถูกต้อง

การทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ให้ถูกต้อง เพราะมีใจเป็นกุศลธรรม


ทุกวันนี้เราจะเห็นคนไม่ทำหน้าที่โดยความถูกต้องเป็นธรรม ชอบทำเกินหน้าที่ของความเป็นธรรมที่ถูกต้อง จึงทำให้ตัวเองเดือดร้อนใจ และทำให้ผู้อื่นพลอยเดือดร้อนตามไปด้วย สังคมโดยรวมก็เดือดร้อน ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะความหลงในโลกธรรม ๘ ประการ คือ มีลาภ ก็มีเสื่อมลาภ, มียศ ก็มีเสื่อมยศ, มีสรรเสริญ ก็มีนินทา, มีเกิดสุข ก็มีเกิดทุกข์, คนที่ได้ดีมี ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ก็ยินดีพอใจ ส่วนคนที่ไม่ได้ดีกับได้ชั่ว คือไม่ได้ลาภ ไม่ได้ยศ ไม่ได้สรรเสริญแต่ถูกนินทา ไม่ได้สุขแต่กับได้ทุกข์ ก็ไม่พอใจมีความยินร้าย
โลกธรรมเป็นสิ่งที่ทุกๆคนจะต้องได้รับผลของมันอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะด้านบวก หรือด้านลบ ถ้าเราหลงไปยึดมั่นถือมั่น ก็จะเกิดเป็นทุกข์ได้ทั้งนั้น ถ้าเราหลงไปในด้านบวก หรือในด้านลบที่เกิดขึ้น เราก็จะทำหน้าที่ไม่ถูกต้องเป็นธรรมตามหน้าที่ เพราะความรู้สึกยินดียินร้าย,ความพอใจหรือไม่พอใจ, เป็นเหตุให้เกิดอัตตา และอคติคือความลำเอียง ต่อกันและกัน ผู้ได้ดีก็จะเยาะเย้ยผู้อื่นอย่างดูแคน ส่วนผู้ได้ชั่วก็จะโกรธแค้นผู้อื่น จึงทำให้เดือดร้อนในทั้งสองฝ่ายได้ และทำให้เกิดทุกข์ตามมาให้ผล เพราะอกุศล มีความโลภ ความโกรธ ความหลง เข้าครอบงำจิตของผู้นั้น

ถ้าไม่อยากเดือดร้อนใจ ควรเจริญสติไว้เป็นดีที่สุด ด้วยการเจริญภาวนาในธัมมะภาวนาว่า “อย่ายินดียินร้าย...อย่าว่าร้ายใคร...อย่าคิดร้ายใคร...” ตลอดเวลาของชีวิตประวัน เพื่อสร้างความรู้ตัวให้กับจิตของตน ก็จะทำให้เกิดสติ รู้ปล่อยวางในอารมณ์ยินดียินร้าย,ในความพอใจหรือไม่พอใจ,ที่เป็นอกุศลจิต ที่ทำให้เกิดอัตตา และอคติ เมื่อเรามีสติรู้ปล่อยวาง เราก็จะเกิดกุศลจิต กุศลธรรม มีความสงบสุขมีจิตนิ่ง ไม่หลงไปในโลกธรรม มีเมตตาธรรม เราก็จะทำหน้าที่โดยหน้าที่ให้ถูกต้องเป็นธรรม ไม่มีอัตตา และอคติ ต่อใครๆ สันติสุขคือความสงบสุขก็จะเกิดขึ้น สังคมโดยรวมก็จะร่มเย็นเป็นสุขได้ ดังนี้.

โดยหลวงพ่ออุดม มหาปุญโญ วัดป่าหนองเลง

อย่าให้จิตพาลอยู่เหนือจิตใจ

อย่าให้จิตพาลอยู่เหนือจิตใจของเรา ด้วยการท่องธัมมะภาวนา






ทุกวันนี้มีกระแสของสื่อมากมาย ที่ปลุกปั่นให้คนเกลียดชังกัน ด้วยคำพูดที่เป็นมุสาวาทของคนพาล คือชอบพูดโกหก,ชอบพูดด่าคำหยาบคาย,ชอบพูดคำเพ้อเจ้อ,ชอบพูดคำส่อเสียด, ถ้าเราไม่รู้ระวังจิตก็จะหลงไปกับคำพูดของคนพาล โดยปกติคนเรามักมีจิตพาลอยู่ในใจของตนอยู่แล้ว ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะอัตตาอคติจิตในใจของคนเรา ที่เราได้สะสมเอาไว้ในจิตใต้สำนึกมีอยู่มากมาย มักมองคนอื่นอย่างมีอัตตาอคติ หรืออิจฉาอยู่แล้ว ชอบคิดว่าตัวเองดีกว่าเขา หรือกว่าใครๆในโลกนี้ ที่เป็นเหตุให้มองคนในแง่ร้าย จึงทำให้เกิดความทุกข์ตามมาให้ผลในชีวิต ที่โลกเดือดร้อนกันอยู่ทุกวันนี้ก็เพราะจิตพาล จิตพาลนี้เกิดจากบาปอกุศล จึงควรตามดูตามแก้ไขไม่ให้บาปอกุศลเกิดกับจิตของตน จิตพาลจะได้ไม่เกิดขึ้นในใจของเรา เราจึงจะไม่เกิดทุกข์

การท่องธัมมะภาวนาไว้ เป็นการแก้ไขไม่ให้จิตเกิดเป็นบาปอกุศล จะช่วยให้เราเกิดสติ รู้สกัดกั้นบาปอกุศลไม่ให้เกิดขึ้น การท่องธัมมะภาวนาก็คือการระลึกถึงในหัวข้อธรรม ๓ หัวข้อที่ว่า “อย่ายินดียินร้าย...อย่าว่าร้ายใคร...อย่าคิดร้ายใคร...” หรือท่องเอาไว้เป็นธัมมะภาวนา เพื่อให้จิตเกิดความรู้ตัว(เป็นสัมปชัญญะ) เตรียมพร้อมไว้ในจิตใต้สำนึก เพื่อให้เกิดมีสติระลึกรู้สกัดกั้นไม่ให้บาปอกุศลเกิดขึ้นในจิต เป็นการรู้ปล่อยวางไปตามหัวข้อธรรมที่ได้ท่องภาวนาไว้ จิตพาลทั้งหลายก็จะไม่เกิดขึ้น อัตตาและอคติก็ไม่มีอีกต่อไป เพราะไม่มีการเกิดอารมณ์คือความรู้สึกยินดียินร้ายเป็นเหตุ จิตจึงไม่ส่งออกไปรับรู้กับคำพูดของคนพาล จิตจึงไม่เกิดอัตตามีมึง มีกูอยู่ในใจของตน และการเกิดได้เห็นรูป ได้ยินเสียง ได้ดมกลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัสมีเย็นหรือร้อนอ่อนหรือแข็ง ถ้าเราไม่มีความรู้สึกยินดียินร้ายก็จะไม่ไปกระตุ่นความจำในจิตใต้สำนึกขึ้นมานึก-คิดปรุงแต่งจิต จิตก็ไม่วุ่นวาย เพราะจิตมีความสงบและนิ่ง มีเมตตาธรรมเกิดขึ้นไม่มองคนในแง่ร้ายอีกต่อไป และสันติสุข คือความสงบสุขในใจก็จะเกิดเป็นผลในใจของเรา ดังนี้.

โดยหลวงพ่ออุดม มหาปุญโญ วัดป่าหนองเลง

จิตมีสติรู้นิ่งได้

จิตมีสติรู้นิ่งได้ เพราะมีพระพุทธเจ้าเทศน์สอนเราอยู่ในใจ


การท่องธัมมะภาวนาไว้ในใจว่า “อย่ายินดียินร้าย...อย่าว่าร้ายใคร...อย่าคิดร้ายใคร...”ตลอดเวลาก็เสมือนมีพระพุทธเจ้ามาเทศน์สอนอบรมเราอยู่ในใจตลอดเวลา เพราะนี้คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่เราได้ “โอปะนะยิโก” คือการโน้มเข้ามาใสใจตน ที่คอยเทศน์สอนอบรมเราว่าอย่าๆไม่ๆ เมื่อเราเอามาท่องภาวนาอยู่ในใจ เราจึงเสมือนมีพระพุทธเจ้ามานั่งอยู่ในใจเรา คอยตักคอยเตือน คอยอบรมสั่งสอนเราอยู่ในใจ
จึงทำให้เราเกิดมีความรู้ตัว หรือตัวรู้อยู่ในใจ(คือสัมปชัญญะ) จึงทำให้เราเกิดสติ(คือการระลึกได้)ที่จะถอนความรู้สึกยินดียินร้าย,ความรู้สึกพอใจหรือไม่พอใจ,ความรู้สึกชอบใจหรือไม่ชอบใจ, ที่เป็นกิเลส เป็นบาปอกุศลไม่ให้เกิดขึ้นในใจของเรา เราจึงมีจิตรู้นิ่งขึ้น เมื่อมีจิตรู้นิ่ง ก็จะทำให้เราเกิดสติรู้ที่จะไม่ว่าร้ายใครในใจ ไม่คิดพยาบาทปองร้ายใครในใจ,ไม่คิดฆ่าสัตว์,ไม่คิดลักทรัพย์, ไม่คิดประพฤติผิดใจกาม,ไม่พูดเท็จโกหก,ไม่พูดจาส่อเสียด,ไม่พูดจาเพ้อเจ้อ,ไม่พูดจาด่าคำหยาบ,จัดเป็นศีลเกิดขึ้น นี้คือการเกิดของอธิศีล
เมื่อมีสติมากขึ้นๆจิตก็มีความสงบมากขึ้นในขณิกสมาธิ นี้คือการเกิดของอธิจิต เมื่อมีสติมากขึ้นอีกก็ทำให้เราเกิดปัญญารู้ความเป็นจริงในสภาวธรรมต่างๆ(คือสิ่งที่เป็นเองตามธรรมดาของเหตุปัจจัย) จัดเป็นการเจริญวิปัสสนา นี้คือผลของอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา เพราะจิตมีสติรู้นิ่ง เพราะมีพระพุทธเจ้ามาคอยเทศน์สอนเรา อบรมเราอยู่ตลอดในใจของเรา จึงทำให้ใจของเราเกิดความสงบสุข มีจิตว่างอย่างยิ่ง “ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ” เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้.

โดยหลวงพ่ออุดม มหาปุญโญ วัดป่าหนองเลง

วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

อย่าให้จิตพาลอยู่เหนือจิตใจ

อย่าให้จิตพาลอยู่เหนือจิตใจของเรา ด้วยการท่องธัมมะภาวนา


ทุกวันนี้มีกระแสของสื่อมากมาย ที่ปลุกปั่นให้คนเกลียดชังกัน ด้วยคำพูดที่เป็นมุสาวาทของคนพาล คือชอบพูดโกหก,ชอบพูดด่าคำหยาบคาย,ชอบพูดคำเพ้อเจ้อ,ชอบพูดคำส่อเสียด, ถ้าเราไม่รู้ระวังจิตก็จะหลงไปกับคำพูดของคนพาล โดยปกติคนเรามักมีจิตพาลอยู่ในใจของตนอยู่แล้ว ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะอัตตาอคติจิตในใจของคนเรา ที่เราได้สะสมเอาไว้ในจิตใต้สำนึกมีอยู่มากมาย มักมองคนอื่นอย่างมีอัตตาอคติ หรืออิจฉาอยู่แล้ว ชอบคิดว่าตัวเองดีกว่าเขา หรือกว่าใครๆในโลกนี้ ที่เป็นเหตุให้มองคนในแง่ร้าย จึงทำให้เกิดความทุกข์ตามมาให้ผลในชีวิต ที่โลกเดือดร้อนกันอยู่ทุกวันนี้ก็เพราะจิตพาล จิตพาลนี้เกิดจากบาปอกุศล จึงควรตามดูตามแก้ไขไม่ให้บาปอกุศลเกิดกับจิตของตน จิตพาลจะได้ไม่เกิดขึ้นในใจของเรา เราจึงจะไม่เกิดทุกข์

การท่องธัมมะภาวนาไว้ เป็นการแก้ไขไม่ให้จิตเกิดเป็นบาปอกุศล จะช่วยให้เราเกิดสติ รู้สกัดกั้นบาปอกุศลไม่ให้เกิดขึ้น การท่องธัมมะภาวนาก็คือการระลึกถึงในหัวข้อธรรม ๓ หัวข้อที่ว่า “อย่ายินดียินร้าย...อย่าว่าร้ายใคร...อย่าคิดร้ายใคร...” หรือท่องเอาไว้เป็นธัมมะภาวนา เพื่อให้จิตเกิดความรู้ตัว(เป็นสัมปชัญญะ) เตรียมพร้อมไว้ในจิตใต้สำนึก เพื่อให้เกิดมีสติระลึกรู้สกัดกั้นไม่ให้บาปอกุศลเกิดขึ้นในจิต เป็นการรู้ปล่อยวางไปตามหัวข้อธรรมที่ได้ท่องภาวนาไว้ จิตพาลทั้งหลายก็จะไม่เกิดขึ้น อัตตาและอคติก็ไม่มีอีกต่อไป เพราะไม่มีการเกิดอารมณ์คือความรู้สึกยินดียินร้ายเป็นเหตุ จิตจึงไม่ส่งออกไปรับรู้กับคำพูดของคนพาล จิตจึงไม่เกิดอัตตามีมึง มีกูอยู่ในใจของตน และการเกิดได้เห็นรูป ได้ยินเสียง ได้ดมกลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัสมีเย็นหรือร้อนอ่อนหรือแข็ง ถ้าเราไม่มีความรู้สึกยินดียินร้ายก็จะไม่ไปกระตุ่นความจำในจิตใต้สำนึกขึ้นมานึก-คิดปรุงแต่งจิต จิตก็ไม่วุ่นวาย เพราะจิตมีความสงบและนิ่ง มีเมตตาธรรมเกิดขึ้นไม่มองคนในแง่ร้ายอีกต่อไป และสันติสุข คือความสงบสุขในใจก็จะเกิดเป็นผลในใจของเรา ดังนี้.

โดยหลวงพ่ออุดม มหาปุญโญ วัดป่าหนองเลง

จิตมีสติรู้นิ่งได้

จิตมีสติรู้นิ่งได้ เพราะมีพระพุทธเจ้าเทศน์สอนเราอยู่ในใจ


การท่องธัมมะภาวนาไว้ในใจว่า “อย่ายินดียินร้าย...อย่าว่าร้ายใคร...อย่าคิดร้ายใคร...”ตลอดเวลาก็เสมือนมีพระพุทธเจ้ามาเทศน์สอนอบรมเราอยู่ในใจตลอดเวลา เพราะนี้คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่เราได้ “โอปะนะยิโก” คือการโน้มเข้ามาใสใจตน ที่คอยเทศน์สอนอบรมเราว่าอย่าๆไม่ๆ เมื่อเราเอามาท่องภาวนาอยู่ในใจ เราจึงเสมือนมีพระพุทธเจ้ามานั่งอยู่ในใจเรา คอยตักคอยเตือน คอยอบรมสั่งสอนเราอยู่ในใจ
จึงทำให้เราเกิดมีความรู้ตัว หรือตัวรู้อยู่ในใจ(คือสัมปชัญญะ) จึงทำให้เราเกิดสติ(คือการระลึกได้)ที่จะถอนความรู้สึกยินดียินร้าย,ความรู้สึกพอใจหรือไม่พอใจ,ความรู้สึกชอบใจหรือไม่ชอบใจ, ที่เป็นกิเลส เป็นบาปอกุศลไม่ให้เกิดขึ้นในใจของเรา เราจึงมีจิตรู้นิ่งขึ้น เมื่อมีจิตรู้นิ่ง ก็จะทำให้เราเกิดสติรู้ที่จะไม่ว่าร้ายใครในใจ ไม่คิดพยาบาทปองร้ายใครในใจ,ไม่คิดฆ่าสัตว์,ไม่คิดลักทรัพย์, ไม่คิดประพฤติผิดใจกาม,ไม่พูดเท็จโกหก,ไม่พูดจาส่อเสียด,ไม่พูดจาเพ้อเจ้อ,ไม่พูดจาด่าคำหยาบ,จัดเป็นศีลเกิดขึ้น นี้คือการเกิดของอธิศีล
เมื่อมีสติมากขึ้นๆจิตก็มีความสงบมากขึ้นในขณิกสมาธิ นี้คือการเกิดของอธิจิต เมื่อมีสติมากขึ้นอีกก็ทำให้เราเกิดปัญญารู้ความเป็นจริงในสภาวธรรมต่างๆ(คือสิ่งที่เป็นเองตามธรรมดาของเหตุปัจจัย) จัดเป็นการเจริญวิปัสสนา นี้คือผลของอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา เพราะจิตมีสติรู้นิ่ง เพราะมีพระพุทธเจ้ามาคอยเทศน์สอนเรา อบรมเราอยู่ตลอดในใจของเรา จึงทำให้ใจของเราเกิดความสงบสุข มีจิตว่างอย่างยิ่ง “ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ” เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้.

โดยหลวงพ่ออุดม มหาปุญโญ วัดป่าหนองเลง

วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

โลกในใจร้อนเพราะมี

โลกในใจร้อนเพราะมี ไฟโลภะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ ในใจจะเย็นเพราะมีธัมมะภาวนา

         ทุกวันนี้โลกภายนอกของเราดูจะร้อนขึ้นทุกวันๆ เพราะอากาศมีการเปลี่ยนแปรงไปตามฤดูกาล แต่ที่ร้อนขึ้นทุกวันก็เพราะมีการทำลายธรรมชาติมากขึ้นๆ จึงทำให้โลกร้อนขึ้นๆไปตามกฎเกณฑ์ ถ้ามีการหยุดทำลายธรรมชาติโลกก็จะเย็นลงไป
เหมือนกับใจของคนเราทุกวันนี้มีแต่ความร้อนเพิ่มขึ้นๆ ก็เพราะใจของคนเรามีไฟอยู่ ๓ กอง คือไฟโลภะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ คุกลุ่นอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว แต่คนก็ชอบที่จะเพิ่มความร้อนเข้าไปในใจของตนอยู่เสมอๆโดยไม่รู้ตัว อะไรเป็นเหตุให้ใจของคนร้อนมากขึ้น อกุศลจิต ที่เกิดจากการรับรู้สิ่งต่างๆรอบตัวได้แต่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย และใจที่ชอบนึกคิดไปตามกิเลสกาม ด้วยความรู้สึกยินดียินร้ายบ้าง, พอใจไม่พอใจบ้าง ,ชอบใจไม่ชอบใจบ้าง, นี้คือลักษณะของอกุศลจิต ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอในชีวิตประจำวันของคนเรา ถ้าไม่รู้จักดับกิเลสกาม และอกุศลจิต ในใจของตน ก็จะทำให้เกิดความทุกข์ตามมาให้ผลอย่างแน่นอน

ถ้าไม่อยากให้เกิดทุกข์ในใจ ก็อย่าให้เกิดอกุศลจิต คือกิเลสกาม คือไฟโลภะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ การจะดับสิ่งเหล่านี้ได้ ก็จะต้องอาศัยการเจริญภาวนา ด้วยบทธัมมะภาวนาว่า “ อย่ายินดียินร้าย...อย่าว่าร้ายใคร...อย่าคิดร้ายใคร...” ท่องเอาไว้ในใจของตนอยู่เสมอๆ ในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะทำอะไรอยู่พยายามนึกท่องเอาไว้ เพื่อให้ใจของตนมีความรู้ตัวไว้ ก็จะทำให้เกิดสติ รู้สกัดกั้นอกุศลจิตไม่ให้เกิดขึ้น ใจของเราก็จะค่อยๆเย็นลงๆ สงบสุขมากขึ้นๆ เพราะกิเลสกาม หรือโลภะ โทสะ โมหะ เบาบางลงไป แม้โลกจะร้อนแต่ใจของเราก็ไม่ร้อนไปตามโลก เพราะใจของเรามีความเป็นกุศลจิต กุศลธรรม มีความเย็นสงบสุข ดังนี้.

โดยหลวงพ่อ อุดม มหาปุญโญ วัดป่าหนองเลง

การมองคนในแง่ร้าย

การมองคนในแง่ร้ายเป็นความทุกข์ เพราะจิตมีอัตตาและอคติ

         คนทุกวันนี้มีความทุกข์ใจ เกิดขึ้นในใจของเราโดยเราไม่รู้ตัว เหตุที่ทำให้เราเกิดความทุกข์ใจ ก็เพราะเรามีการมองคนในแง่ร้าย เหตุที่ทำให้เรามองคนในแง่ร้าย ก็คืออัตตาและอคติ เหตุที่ทำให้เราเกิดอัตตาและอคติ ก็คือการรับรู้ของเราที่มาจาก รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ชวนให้รัก, ชักให้ใคร่, พาใจให้ไหลหลง, จึงเกิดความรู้สึกยินดียินร้าย,ความพอใจหรือความไม่พอใจ,ความชอบใจหรือความไม่ชอบใจ, เป็นอกุศลจิตที่ทำให้เราเกิดอัตตาและอคติ เป็นบาปอกุศล ที่มีโลภะ โทสะ โมหะ ครอบงำจิต จึงอยู่ร้อน นอนเป็นทุกข์ เพราะการมองคนในแง่ร้าย ด้วยความลำเอียง

อคติ มีอยู่ ๔ อย่าง คือ


๑.ลำเอียงเพราะรักใคร่กัน เรียกฉันทาคติ. ๒.ลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน เรียกโทสาคติ.
๓.ลำเอียงเพราะเขลา เรียกโมหาคติ. ๔.ลำเอียงเพราะกลัว เรียกภยาคติ.
อคติ ๔ ประการนี้ ไม่ควรประพฤติ.
ทุกวันนี้มีสื่อรับรู้ต่างๆ ที่มีการปรุงแต่งให้คนหลงใหลไปกับสื่อ บางเรื่องก็รุ่นแรงจนสร้างความรู้สึกให้กับจิตของเรา ทำให้เราเกิดการคิดนึกปรุงแต่งด้วยความคิดร้าย จนมองคนในแง่ร้าย เป็นเหตุให้เกิดจิตพาล ที่จะคิดทำร้ายเบียดเบียนกันเกิดขึ้น จึงเป็นเหตุให้เราเกิดความไม่สบายใจ เป็นบาปอกุศล ส่วนที่สื่อนำเรื่องดีๆมาเสนอมีน้อย สื่อดีๆทำให้คนมีความสบายใจ สื่อร้ายๆทำให้คนเกิดความทุกใจ เราจึงไม่ควรรับรู้สื่ออย่างขาดสติ เพราะถ้าเราขาดสติ ก็จะเกิดอัตตาและอคติ จึงมองคนในแง่ร้ายเกิดจิตพาล ที่พร้อมจะกระทำชั่ว การพูดชั่ว การคิดชั่ว ที่เป็นทุจริตธรรม ๓ ประการ

การเจริญสติจึงมีความสำคัญต่อชีวิตของคนเรา ที่จะทำให้เราเกิดสติรู้สกัดกั้นไม่ให้เกิดบาปและอกุศลกับจิตของเรา จิตของเราก็จะไม่เกิดอัตตาและอคติ ที่เป็นเหตุให้มองคนในแง่ร้าย จนมีจิตพาล การเจริญสติจึงต้องมีธัมมะภาวนาท่องเอาไว้ในจิตของเราอยู่เสมอๆ ตลอดทั้งวันจนกว่าจะหลับ เพื่อสร้างความรู้ตัวให้กับจิต(คือสัมปชัญญะ) เป็นความเตรียมพร้อมไว้ในจิตต่อการเกิดสติ ไม่ให้เกิดบาปอกุศล จิตของเราก็จะมีความสงบสุข เพราะเป็นจิตที่มีกุศลเป็นบุญคือความสบายใจ ทำให้เราอยู่อย่างมีความสงบสุขกับชีวิตประจำวัน เพราะจิตของเราจะไม่ไปเก็บสิ่งที่มากระทบให้เกิดความรู้สึกยินดียินร้าย มีแค่การรับรู้แล้วก็ปล่อยวางไป มีความรับรู้กับสิ่งที่มากระทบเพียงสักแต่ว่ารู้ ๆ ไม่เกิดนึกคิดในจิต อุบายที่จะทำให้เรามีสติ คือคำท่องธัมมะภาวนาว่า “อย่ายินดียินร้าย...อย่าว่าร้ายใคร...อย่าคิดร้ายใคร...” ท่องกันไว้นะเพื่อให้เกิดสติ มีจิตเป็นกุศลธรรมมีความสงบสุข ธรรมะจะคุ้มครองรักษาจิตเราให้มองคนในแง่ดี เพราะมีเมตตาธรรม ดังนี้.

โดยหลวงพ่ออุดม มหาปุญโญ วัดป่าหนองเลง

วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ความประมาทในทาน

ความประมาทในทาน ศีล สมาธิ สมถะ วิปัสสนา ปัญญา ตำรา


“... ชื่อของกิเลสอีกชื่อหนึ่ง คือ ความประมาท
ชื่อของอวิชชาอีกชื่อหนึ่ง คือ ความประมาท
ชื่อของธรรมและวิชชาจรณะสัมปันโน คือ ชื่อความไม่ประมาท
มรรคองค์แปดก็คือ ความไม่ประมาท
สติปัฏฐานสี่ก็ คือ ความไม่ประมาท
สติ คือ ความไม่ประมาท

ย่อลงมาก็คือ “ อัปปมาเทนะ สัมปาเทถะ” จงอย่าตั้งอยู่ในความประมาทเลย คือ จงอย่าตั้งอยู่ในกิเลสเลย จงอย่าตั้งอยู่ในความมัวเมา จงอย่าตั้งอยู่ในความหลง จงอย่าตั้งอยู่ในความมืด จงอย่าตั้งในอยู่ในอวิชชานั่นเอง เห็นไหม นี่เราประมาทในศีล เราประมาทในทาน เราประมาทในสมาธิ รวมถึงประมาทในปัญญา เราไม่สนใจหลักวิชาทางตำรา ก็ประมาทตำราอีก เราติดตำราเกินไปก็ประมาทในทางสมถะภาวนากับวิปัสสนาภาวนาอีก เราประมาทในกัมมัมฏฐานของคนอื่น แต่พอใจในกัมมัฏฐานของตนแล้วก็ว่ากัมมัฏฐานของคนอื่นผิด ยังไม่ลึกซึ้งพอในการปฏิบัติกัมมัฏฐาน สมถะแม้กระทั่งขยับนิ้วแล้วเกิดความเป็นสมาธิก็ไม่เห็นผิดอะไร สมถะคืออุบายที่ทำให้สงบใจเห็นมั้ย ...

คำว่าสมถะเป็นอุบายที่ทำให้สงบใจ มีด้วยกัน ๔๐ กอง ... เมื่อได้สมถะความสงบแล้วทำไมไม่เข้าวิปัสสนาตามทางที่ถูกต้อง ทำไมต้องไปต่ออะไรเป็นขั้นเป็นตอนมั่วไปหมดเลย ยกมือขยับมือ ยกมือขยับมือ ก็ถูกไม่ผิดไงไม่ได้เถียงสมถะนั่นแหละ สายจับดวงแก้วก็ถูกอีกไม่ผิด สายยุบหนอก็ถูก นะมะพะธะก็ถูก ถูกทุกสายนั่นแหละ ถ้าพูดถึงสมถะนะ ฉันยังไม่พูดถึงวิปัสสนา ถ้าพูดถึงวิปัสสนาคุณต้องเข้าให้ถูก เอากำลังตรงนั้นมาเจริญวิปัสสนา วิปัสสนาสายกลางจริงๆ มีสายหลวงปู่มั่นนี้รู้สึกจะกลางที่สุด มาตรฐานแสตนดาร์ดที่สุดเลย เพราะรักษาคงไว้ตามหลักของพระพุทธเจ้ามาตั้งแต่พระสาวกต่างๆ มาจนถึงลำเลียงมา ไปอ่านในหลักของพระสูตรแล้วตรงหมด ไม่มีการเปลี่ยนแปลงและดัดแปลงทั้งสิ้น แต่ภาคสมถะท่านจะเน้นเรื่อง พุทโธ เท่านั้นเอง แต่ท่านก็ไม่สอนแค่พุทโธ บางองค์สำเร็จกสิณ หลวงปู่ฝั้นสำเร็จกสิณ บางองค์สำเร็จนั้น แต่ทุกองค์ที่สำเร็จนั้นทำไมกลับมารวมสอนพุทโธอย่างเดียว ไม่สอนอย่างอื่น เพราะพุทโธเป็นตัวขัดเกลาจิต เป็นตัวกล่อมจิต และเป็นตัวที่ทำให้เกิดกุศลในจิตได้ง่าย และในขณะที่ภาวนาพุทโธนั่นเองเป็นตัวดึงดูดบุญกุศลทั้งหลาย บุคคลใดนึกถึงบุคคลที่มีคุณ บุคคลใดนึกถึงบุคคลที่สูงศักดิ์ บุคคลใดนึกถึงบุคคลที่พ้นไปแล้ว บุคคลผู้นั้นจะเป็นผู้พ้นตาม เป็นผู้บรรลุตาม เป็นผู้ถึงธรรมตาม ...”

ตอนหนึ่งของพระธรรมเทศนา ณ บ้านธรรมยอดไกรศรีฯ
โดย หลวงพ่อครูบาเจ้าเพชร วชิรมโน

ลักษณะของสติ

ลักษณะของสติ คือ ระลึก เตือน ยกขึ้น


สติมีลักษณะเป็นอย่างไร สติมีลักษณะคอยให้ระลึก สติมีลักษณะเตือน สติมีลักษณะยกขึ้น คำว่าสติมีไว้ให้ระลึกหมายถึง ครั้งนานมาแล้วผ่านมาแล้วจนถึงวันนี้ ครั้นเราอยากจะรู้เรื่องที่ผ่านมาแล้วนั้น ตัวสติก็จะทำหน้าที่ ให้ระลึกได้ ตัวสติมีลักษณะเตือนเป็นอย่างไร เหมือนพระราชาออกจากห้องบรรทม มาท้องพระโรงใหญ่ก็จะมีเสนาใหญ่องค์หนึ่ง มีหน้าที่แจ้งรายงานว่า วันนี้พระองค์มีสมบัติเท่านั้น เงินเท่านั้น ทองเท่านั้น เพชรเท่านี้ ส่วนเท่านี้ บริเวณที่ปกครองเท่านั้น คือแจ้งสมบัติให้พระราชาทราบทุกประการ ต้องฟังทุกเช้า บุรุษผู้นั้นเปรียบเสมือนสติคอยเตือนพระราชานั่นเอง สติจึงมีลักษณะคอยเตือน สติมีลักษณะยกขึ้น เหมือนกับว่าของที่วางอยู่แล้วเราอยากนำไปได้ ณ อีกที่หนึ่ง เราก็ใช้มือ หรือใช้อุปกรณ์อะไรก็แล้วแต่เถิด แต่ในที่นี้เอาเป็นว่าใช้มือ หยิบภาชนะนั้นไปได้โดยง่าย และภาชนะนั้นไม่หล่นกลางทาง วางได้ในจุดที่ต้องการ ดั่งใจหมาย อย่างนี้แม้ฉันใด สติก็มีลักษณะยกขึ้นฉันนั้น

... เปรียบเหมือนกับว่าเรากำลังเจริญสมาธิอยู่ ก็ให้ตั้งใจเจริญสมาธิเป็นตัวสติที่มั่นคงขึ้น เราจะยกพุทโธขึ้น หรือดูลมอย่างเดียว หรือจะกำหนดกระโหลกศรีษะของเรา หรือผมบนศรีษะของเราก็ตาม ก็ขอให้นึกว่าสิ่งนั้นเป็นภาชนะ เป็นวัตถุอันหนึ่ง หรือเหมือนแก้วใบหนึ่ง ที่เราต้องการจะนำไปดังใจหมาย คือยกไป เคลื่อนไป ไม่ให้ตกหล่นเสียกลางทาง ก็ประคองรู้ไป อย่างเช่นว่า พุทโธ พุทโธ พุทโธ อย่างนี้ เราก็พุทโธๆๆ ในใจไป จะเดินไปไหน ทำงานอะไร อยู่ ณ สถานที่ใด อิริยาบถใดก็ยกถือไปด้วย เมื่อถึงเวลาว่าต้องการพูด ต้องการสนทนา หรือต้องการใช้ความคิด ก็เอาแก้วใบนั้น ถือวัตถุสิ่งนั้นที่เปรียบให้ฟังนั้น มาเปรียบเป็น พุทโธๆๆ นี้ที่ยกไป เอาวางไว้ก่อน เหมือนกับว่ามันหนักมันเหนื่อย ต้องหยุดเสียก่อนพักนึง แล้วก็คุยสนทนาไป หรือใช้สมองคิดเรื่องนั้นไป เมื่อคิดเสร็จแล้ว หรือพูดสนทนาเสร็จแล้ว ก็รีบยกแก้วยกภาชนะนั้นเดินต่อ เหมือนกับว่าระลึกเอาพุทโธนั้นขึ้นมากำหนดต่ออีก แม้เป็นพียงเวลาอันสั้นก็ตาม หนึ่งวิสองวินาทีก็ตาม ก็ต้องยก เพราะว่าทำให้เราถึงจุดหมายปลายทางได้เร็ว ถ้าเราระลึกช้ามันก็ไปได้ช้า ถ้าเราระลึกได้เร็วมันก็ไปได้เร็ว เหมือนกับว่าคนถือภาชนะไป เมื่อเหน็ดเหนื่อยหรือจะสนทนาพาทีกับใคร ก็วางของเสียก่อน พูดคุยเสร็จแล้วเห็นว่าไม่เเป็นธุระแล้วก็ลาจากสถานที่นั้น รีบยกภาชนะหรือแก้วนั้นไปดั่งใจหมาย ณ ที่จุดหมายที่ต้องการ อย่างนี้ เรามีการฝึกสติอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ในอิริยาบถปกติธรรมดาของเรานี่แหละ... ยกพุทโธๆๆ ขึ้นมาแล้ว กำหนดดูพยายามประคับประคองไม่ให้พุทโธหาย เหมือนกับบุคคลที่ประคองแก้วน้ำไม่ให้ตกแตกนั่นเอง... "

ตอนหนึ่งของพระธรรมเทศนา โดย พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงพ่อครูบาเจ้าเพชร วชิรมโน

ภาพ: หลวงพ่อนำศิษย์ออกธุดงค์ตามป่าเขา ตามถ้ำ

การฝึกจิตให้ตั้งมั่นในกุศลธรรม

การฝึกจิตให้ตั้งมั่นในกุศลธรรม จะไม่หลงในโลกธรรมให้เกิดทุกข์


โลกธรรม คือธรรมที่ครอบงำสัตว์โลกอยู่ และสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามธรรมนั้น โลกธรรมนั้นมีอยู่ ๘ อย่าง ที่เป็นความปรารถนายินดีคือ ความมีลาภ ๑, ความมียศ ๑, ความมีสรรเสริญ ๑, ความมีสุข ๑, ส่วนที่เป็นความไม่ปรารถนายินร้ายคือ ความไม่มีลาภ ๑, ความไม่มียศ ๑, การโดนนินทา ๑, ความมีทุกข์ ๑,
ในโลกธรรม ๘ ประการนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ควรพิจารณาว่า สิ่งนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่ามันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรรู้ตามที่เป็นจริง อย่าให้มันครอบงำจิตได้ คืออย่ายินดีในส่วนที่ปรารถนา อย่ายินร้ายในส่วนที่ไม่ปรารถนา เพราะมันคือบาปอกุศล เป็นกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง ควรละเสีย

โลกธรรม เป็นสิ่งที่ทุกๆคนจะต้องได้รับผลของมันอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะด้านบวก หรือด้านลบ ถ้าเราหลงไปยึดมั่นถือมั่น ก็จะเกิดเป็นทุกข์ได้ทั้งนั้น จึงควรฝึกจิตของตนไว้ให้พร้อม ให้มีความตั้งมั่นในกุศลธรรม ด้วยการเจริญสติ ให้มีสติในการรู้ปล่อยวางในอารมณ์ยินดียินร้าย หรือรู้สกัดกั้นจิตของตนไม่ให้เกิดบาปอกุศล เพราะบาปอกุศล เป็นเหตุให้เกิดกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง ไปยึดมั่นถือมั่นให้เกิดความทุกข์ ฉะนั้นจึงควรมีการเจริญธัมมะภาวนาไว้ว่า “อย่ายินดียินร้าย...อย่าว่าร้ายใคร...อย่าคิดร้ายใคร...” เป็นประจำวัน ในชีวิตของตนเพื่อสร้างความรู้ตัวให้กับจิตของตน ก็จะทำให้จิตของตนมีสติ รู้สกัดกั้นบาปอกุศลไม่ให้เกิดขึ้น หรือรู้ปล่อยวางในอารมณ์ยินดียินร้ายได้ จึงไม่เกิดกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง เข้าครอบงำจิต จิตของเราก็จะเป็นกุศลจิต หรือกุศลธรรม ที่ทำให้จิตมีความสงบสุขไม่หลงไปในโลกธรรม พระพุทธองค์ได้ทรงกล่าวไว้ว่า “ผู้ใด สามารถครอบงำโลกธรรมได้ ผู้นั้นได้ชื่อว่าเป็นสมณะ ” เพราะมีจิตที่เป็นกุศลพร้อม จึงทำให้ประพฤติตนอยู่ในสุจริตธรรม ๓ ประการ คือสุจริตทางกาย เรียกกายสุจริต, สุจริตทางวาจา เรียกวจีสุจริต, สุจริตทางใจ เรียกมโนสุจริต, ควรแก่การยกย่องว่าเป็นสมณะ เพราะสมณะก็ต้องทำจิตให้อยู่เหนือโลกธรรมเช่นกัน จึงควรฝึกจิตของตน ให้เกิดกุศลธรรมไว้ให้พร้อมเสมอ จะทำให้มีสุขชาตินี้ และสุขชาติหน้า ดังนี้.

โดยหลวงพ่ออุดม มหาปุญโญ วัดป่าหนองเลง

จิตวุ่นวายเพราะกิเลสอยากได้

จิตวุ่นวายเพราะกิเลสอยากได้ ต้องรู้ทำจิตไม่ให้วุ่นวาย


โลกเราทุกวันนี้มีแต่การแข่งขันกันสร้างความเชื่อความหลง เพื่อให้คนวุ่นวายใจด้วยกิเลส มีความอยากได้สูง จึงได้สร้างสิ่งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม มายั่วยุจิตใจของคน ให้หลงใหลไปกับสิ่งปรุงแต่งต่างๆที่ได้สร้างขึ้นมาชวนเชื่อ สิ่งที่เป็นรูปธรรมคือจับต้องได้ที่มากับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสต่างๆ ทางธรรมเรียกว่าวัตถุแห่งกาม ที่ชวนให้รัก,ชักให้ใคร่,พาใจให้ไหลหลง, เมื่อใครได้รับรู้สิ่งเหล่านี้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ก็จะเกิดความรู้สึกยินดียินร้าย,ความพอใจหรือความไม่พอใจ,ความชอบใจหรือความไม่ชอบใจ, ที่เกิดเป็นกิเลสคือความอยาก เมื่อเราได้เสพคุ้นกับสิ่งเหล่านี้ด้วยความอยากบ่อยๆ ก็จะเกิดเป็นตัณหา คือความทะยานอยากมากยิ่งขึ้นๆ จึงสร้างความวุ่นวายใจได้ และจะแสวงหาให้ได้มาให้ได้ เพื่อสนองตัณหาของตน

ส่วนที่เป็นนามธรรม ก็คือการสร้างวาทะกรรมให้คนหลงเชื่อในเรื่องเภทภัยต่างๆ เพื่อให้เกิดความกลัว ความระแวง ความว้าวุ่นใจ เป็นจุดขาย ทั้งวิทยาศาสตร์และไสยศาสตร์ จึงเป็นที่มาแห่งความวุ่นวายของโลก เพราะชาวโลกมักขาดวิจารณญาณ ไร้การไตร่ตรองให้ถ้วนถี่ ในสิ่งที่ได้รับรู้มาในวาทะกรรมเหล่านั้น จึงอาจทำให้เกิดความคิดเห็นผิด จากธรรมนองและครองธรรมได้ โดยถูกความโลภ ความโกรธ ความหลง ครอบงำจิตใจ โลกวุ่นวายเพราะเหตุนี้

การรู้ทำใจของเราไม่ให้หลงวุ่นวายไปกับโลกเป็นสิ่งสำคัญ เราจะต้องเป็นผู้มีสติ การจะมีสติเราจะต้องมีความเพียรในการท่องธัมมะภาวนาไว้ให้ตลอดวัน เพื่อให้เกิดความรู้ตัวในจิต(คือสัมปชัญญะ) อันเป็นเหตุให้จิตของเราเกิดสติรู้สกัดกั้นไม่ให้เกิดบาปและอกุศล คือความรู้สึกยินดียินร้าย,ความพอใจหรือความไม่พอใจ,ความชอบใจหรือความไม่ชอบใจ,ที่เป็นสาเหตุให้เกิดกิเลสตัณหา จนเป็นความรู้ปล่อยวางได้เองโดยอัตโนมัติ จิตของเราก็จะไม่หลงเกิดความวุ่นวายใจไปกับโลกใบนี้ จิตของเราก็จะมีแต่ความสงบสุข อยู่กับโลกอย่างร่าเริงใจเพราะการมีสติ คำไว้ท่องภาวนาเป็นหัวข้อของธัมมะจึงเรียกว่า“ธัมมะภาวนา”หรือธัมมานุสสติ คือการระลึกถึงธัมมะเป็นอารมณ์ธรรมคือกุศล เพื่อสร้างความรู้ตัวให้กับจิตของเราคือ ” อย่ายินดียินร้าย...อย่าว่าร้ายใคร...อย่าคิดร้ายใคร...” ท่องไว้ให้ตลอดวันจะทำให้มีสติรู้สกัดกั้นไม่ให้เกิดบาปและอกุศล ไปตามหัวข้อของธัมมะโดยอัตโนมัติ ดังนี้.

โดยหลวงพ่ออุดม มหาปุญโญ วัดป่าหนองเลง

ธัมมะทำให้เกิดความสงบสุข

ธัมมะทำให้เกิดความสงบสุข ถ้าอยากสงบสุขก็ต้องปฏิบัติธรรม


การปฏิบัติธรรม ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องไปแสวงหาที่ปฏิบัติให้ยุ่งยาก ในชีวิตประจำวันของเราก็ปฏิบัติธรรมได้ เพียงมีการเจริญสติเท่านั้น การเจริญสติก็ต้องมีอุบายในการเจริญสติ นั้นก็คือการมีคำภาวนาไว้ในใจของตนคอยท่องเอาไว้ให้ตลอด การท่องบทภาวนาไว้ตลอดนั้นแหละคือการปฏิบัติธรรม เมื่อได้ท่องบทภาวนาไว้ตลอด ก็จะไปสร้างความรู้ตัวให้กับจิตของตน(ที่เรียกว่าสัมปชัญญะ คือความรู้ตัว) เมื่อจิตมีความรู้ตัวมากๆ ก็จะทำให้จิตเกิดสติ รู้สกัดกั้นไม่ให้จิตเกิดบาปอกุศล ที่เป็นกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง การมีความเพียรในการท่องภาวนาไว้ตลอดนั้นแหละ คือการมีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจ หรือความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้ ตามความหมายในสติปัฏฐาน ๔ หรือความมีสติชอบ ตามในอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการที่ได้กล่าวไว้

อุบายในการเจริญสติ คือบทธัมมะภาวนาว่า “อย่ายินดียินร้าย...อย่าว่าร้ายใคร...อย่าคิดร้ายใคร...” มีที่มาจากความดำริชอบในอริยมรรค เมื่อมีความเพียรชอบในการดำริชอบก็เริ่มมีสติชอบ ก็จะทำให้เกิดการพูดจาชอบ คือไม่พูดโกหก,ไม่พูดด่าคำหยาบ,ไม่พูดสอเสียด,ไม่พูดเพ้อเจ้อ, มีการทำการงานชอบ คือไม่ฆ่าสัตว์,ไม่ลักทรัพย์,ไม่ประพฤติผิดในกาม, มีการเลี้ยงชีวิตชอบ คือไม่ประกอบมิจฉาอาชีวะ มีสติชอบ มีสมาธิชอบ แม้ในขณิกะสมาธิ ก็เริ่มจะทำให้เกิดปัญญา มีความรู้ในสภาวธรรมต่างๆตามมาให้เกิดรู้แจ้งในอริยสัจ ๔ คือความเห็นชอบ รวมเรียกว่าอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา หรือเป็นศีล สมาธิ ปัญญา นี่คือแนวทางการปฏิบัติธรรมทางสายกลาง ที่ใครๆก็สามารถทำได้ จริตไหนๆก็มาปฏิบัติตามได้ และให้ผลได้กับทุกๆคน ที่มีความเพียรชอบในการปฏิบัติธรรมตามแนวทางในอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการนี้ ก็จะทำจิตมีความสงบสุข เพราะบุญคือความสบายใจ เพราะกุศลธรรมคือจิตมีความผ่องใส ดังนี้.

โดยหลวงพ่ออุดม มหาปุญโญ วัดป่าหนองเลง

การละกิเลส

การละกิเลสคือ โลภะ โทสะ โมหะ เสียได้ จิตจะสงบสุข


จิตที่ยังต้องเวียนว้ายตายเกิดอยู่ ก็เพราะยังมีกิเลสคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นสาเหตุ จึงต้องฝึกจิตของตนให้รู้ละเสีย หรือทำให้เบาบางลงไปเลื่อยๆ จนค่อยๆหมดไป จึงจะพ้นจากการเวียนว้ายตายเกิดเสียได้ อะไรเป็นเหตุให้เกิดกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง อารมณ์หรือความรู้สึกยินดียินร้าย ที่เกิดจากการรับรู้ใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธัมมารมณ์ คือสาเหตุให้เกิดกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความรู้สึกยินดียินร้ายก็คืออกุศลจิต หรืออกุศลมูล ที่เป็นมูลเหตุเล็กๆน้อยๆที่เกิดขึ้นตลอดเวลาในชีวิตประจำวันของเรา ถูกเก็บเอาไว้ในจิตใต้สำนึกที่เรียกว่าอนุสัยกิเลสหรือตะกอนนอนเนื่องในจิต ของชีวิตประจำวันของเรา จึงควรฝึกจิตของตนให้รู้ละเสียทีละเล็กทีละน้อยในชีวิตประจำวันของตน

การจะฝึกจิตของตนเอง ก็ไม่ใช่เรื่องยากเย็นที่จะทำไม่ได้ เพียงท่องธัมมะภาวนาไว้ในชีวิตประจำวันของตนว่า “อย่ายินดียินร้าย...อย่าว่าร้ายใคร...อย่าคิดร้ายใคร...” การท่องธัมมะภาวนาไว้เสมอตลอดเวลา ก็คือการปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เกิดสติรู้สกัดกั้นไม่ให้จิตเกิดอกุศล หรือมีสติในการรู้ปล่อยวางในอารมณ์ยินดียินร้าย เมื่อจิตมีสติไม่ให้เกิดอกุศล จิตนี้ก็เป็นกุศลมีผลทำให้จิตเกิดความสงบสุข และค่อยๆเกิดความนิ่งจนเป็นสมาธิ การมีสมาธิก็ไม่ใช่มีในการนั่งสมาธิอย่างเดียว มีได้ในอิริยาบถทั้ง ๔ คือ มียืน เดิน นั่ง นอน ล้วนเป็นสมาธิได้ทั้งนั้น อาการของสมาธิก็คือจิตมีความนิ่ง ไม่ส่งออกไปจับสิ่งรับรู้รอบตัวที่มากระทบเอามานึกคิดปรุงแต่ง จิตที่นิ่งไม่นึกคิดปรุงแต่งนี่แหละคือสมาธิ ในระยะแรกจะเป็นขณิกสมาธิคือสมาธิที่เป็นขณะไ เราจะเห็นอาการจิตนี้ได้ด้วยตัวของเราเอง มีความรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่เสมอในจิตของตน นี่แหละคือผลของการฝึกจิตให้ละกิเลสคือ โลภะ โทสะ โมหะ จิตจะมีความนิ่งเป็นสมาธิ มีความสงบสุข และยังจะทำให้เกิดอธิศีล อธิจิต อธิปัญญาด้วย ดังนี้.

โดยหลวงพ่ออุดม มหาปุญโญ วัดป่าหนองเลง

ท่องธัมมะภาวนาไว้เสมอ

ท่องธัมมะภาวนาไว้เสมอจะทำให้มีสติ ตามดูเห็นจิตตัวเองได้


โดยปกติธรรมดาของคนเรา มักไม่ค่อยจะเห็นจิตตัวเอง ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะความหลงในอารมณ์ยินดียินร้าย คือกิเลสความอยาก พาจิตให้นึกคิดส่งออกไปในเรื่องราวต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ชวนให้รัก,ชักให้ใคร,พาใจให้ไหลหลง, เป็นเหตุให้เกิดกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง
ยามใดที่เรามีการรับรู้ใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ด้วยความรู้สึกยินดียินร้าย ก็จะไปกระตุ่นความจำในเรื่องราวต่างๆ ในจิตใต้สำนึกให้เกิดการนึก-คิดขึ้นมาทันที จึงทำให้เราหลงไปไม่ค่อยได้เห็นจิตของตัวเอง เพราะจิตไม่สงบ จึงหลงอยู่ในวังวนของเรื่องราวต่างๆของความนึก-คิด ที่เรียกว่าจิตมาร
แต่เมื่อเราได้ท่องธัมมะภาวนาไว้เสมอเป็นประจำวันในชีวิตประจำวันอย่างน้อยให้ได้ ๓๐ ครั้งต่อวัน ก็จะเริ่มทำให้เรามีสติรู้ปล่อยวางในอารมณ์ยินดียินร้ายได้ เราก็จะเริ่มเห็นจิตของตัวเองได้ดีขึ้น เพราะจิตมีสติจึงทำให้เกิดความสงบนิ่งไม่ส่งออก จึงทำให้เราเห็นจิตตัวเองได้ดีขึ้น
และยังช่วยให้เรานั่งสมาธิได้ดีขึ้น เพราะเริ่มเห็นจิตมารที่จะคอยเอาเรื่องราวต่างๆ ในจิตใต้สำนึก มาลวงให้เราหลงนึก-คิดจนฟุ้งซ่าน เรื่องราวในจิตใต้สำนึกก็คือกิเลสมาร การมีสติรู้ปล่อยวางในอารมณ์ยินดียินร้ายได้ ก็จะไม่ไปเพิ่มกิเลสมารในจิตใต้สำนึก ทำให้เหลือแต่เรื่องราวเก่าๆที่เรียกว่าอนุสัยกิเลส หรือตะกอนนอนเนื่องในใจ

เมื่อไรที่เรานั่งสมาธิแล้วเห็นกิเลสมาร คือเรื่องราวต่างๆจากความอยากเมื่อใด ก็ให้ใช้ปัญญาคือการคิดเห็นในใจแก้ไข(เรียกว่าคิดแก้คิด) คือคิดขับไล่มารในใจออกไปเสียว่า “มารเรารู้แล้วว่าเจ้าคือมาร” คิดอย่างนี้ไปหลายๆครั้งจนกว่าจะเห็นจิตหยุดนึก-คิด เมื่อเราสามารถรู้ทันมารได้ทุกๆครั้งอย่างนี้ มารก็จะค่อยๆจางไปไม่มาอีก ก็จะทำให้จิตของเราเริ่มมีความสงบ เมื่อเห็นจิตมีความสงบก็ให้ไปดูที่ลมหายใจเข้าและออกแทน เมื่อมีจิตมารมาทำให้นึก-คิดอีกก็ให้ใช้วิธีตามที่กล่าวไว้นั้นต่อสู้ไปเลื่อยๆ จนกว่าจะมีสมาธิตั้งมั่นได้นิ่งยิ่งขึ้นๆไป จนเหลือแต่การตามดูลมหายใจเข้า และลมหายใจออกอยู่อย่างเดียว การใช้ความคิดแก้ไขคือปัญญา จิตสงบได้ก็คือปัญญาสมาธิ ฉะนั้นจึงควรเพียรท่องธัมมะภาวนาไว้ว่า “อย่ายินดียินร้าย...อย่าว่าร้ายใคร...อย่าคิดร้ายใคร...” ไว้เสมอๆนะจะทำให้เกิดสติจนจิตมีความสงบ จะตามดูจิต รู้เห็นจิตตัวเองได้ ดังนี้.

โดยหลวงพ่ออุดม มหาปุญโญ วัดป่าหนองเลง

หลวงพ่อเงินวัดบางคลานพิจิตร

ด้านหน้า ด้านหลัง พระผงรูปเหมือนข้างพัดหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พิจิตร เนื้อเก่ายุคต้นๆ ราคาเบาๆ ครับ  ๙๙๙.๙๙๙ บาท โทร 08722...